Alert! the growth concentration in the S&P 500 will be paused เข้าสู่ช่วงประกาศผลประกอบการบริษัทฯ ไตรมาส 3 ของสหรัฐฯ ซึ่งนักลงทุนยังคงฝากความหวังกับรายงานรายได้จากหุ้นใหญ่ 7 ตัว (Mag7) ว่ากำไรจะเติบโตสูงถึง 18%YoY ขณะที่ประมาณการเติบโตรายได้ของ S&P500 โดยรวมขยายตัวในอัตราเพียง 4.3%YoY โดยเป็นการเติบโตของยอดขาย 4.7%YoY ทาง LH Bank Advisory ประเมินว่าตัวเลขยอดขายนี้สอดคล้องไปกับการคาดการณ์อัตราขยายตัวของ Nominal GDP Q3 ที่ 5%YoY ซึ่งบ่งชี้ว่ายังมี upside ลุ้นให้ตัวเลขผลประกอบการดีกว่าคาดได้อีกเล็กน้อย ขณะเดียวกันตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาแม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะถูกปกคลุมด้วยความไม่แน่นอน ท่ามกลางดอกเบี้ยที่สูงสุดในรอบเกือบ 2 ทศวรรษ แต่ตลาดยังปรับตัวขึ้นมาทำ All time high ด้วย Mag7 ที่รับอานิสงส์ของกระแส AI พร้อมกับความสามารถทำกำไรให้เติบโตได้อย่างโดดเด่น จนดึงดูดเงินลงทุนไหลเข้าต่อเนื่องส่งผลให้มูลค่าตลาด Mag7 ครองส่วนแบ่ง 28% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ทางเราชวนนักลงทุนมองย้อนไปในอดีตของ S&P500 ตั้งแต่ปี 1980 พบว่าอัตราส่วนของหุ้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุด 10 บริษัทที่มีขนาดอยู่ใน 75 Percentiles ของตลาดจะยิ่งกระจุกตัวมากขึ้นในช่วงสภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ จนตอนนี้กระจุกตัวมากสุดเป็นประวัติการณ์ สาเหตุมาจากบริษัทใหญ่เหล่านี้มีความสามารถทำกำไรที่ดี สามารถเติบโตได้ และแข็งแกร่งทนทานต่อวิกฤตเศรษฐกิจ แต่ในช่วงเศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่บรรยากาศปกติ อย่างในเวลานี้ ที่ตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังสะท้อนภาพที่แข็งแกร่งกว่าที่คาดไว้มาก อีกทั้งเงินเฟ้อที่ลดลง และดอกเบี้ยที่สูงก็ปรับลดลงเช่นกัน ดูเป็นช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ผ่านช่วง Soft landing เข้าสู่ No landing ซึ่งอัตราการเติบโตเศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะปกติ จากสถิติในอดีตสถานการณ์เศรษฐกิจที่คลี่คลายตลาดจะลดการถือครองสินทรัพย์จากกระจุกตัวเป็นกระจายตัวมากขึ้น เพื่อมองหาหุ้นที่ให้ผลตอบแทนเหมาะสมกับความเสี่ยง เป็นเหตุให้ทางเรามองว่า การเพิ่มน้ำหนักลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ด้วยที่เน้นกระจุกตัว มีความเสี่ยงเผชิญกับผันผวนสูง และต้องระมัดระวัง อีกทั้งระดับมูลค่าหุ้นไม่เหมาะกับการเข้าไปลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนระยะยาว เพราะจากการประเมิน Earning Yield เทียบกับ Bond Yield พบว่า Earning Yield ของ S&P 500 ที่มี Mag 7 ให้ผลตอบแทนน้อยกว่า Bond Yield และถือเป็นสัญญาณขายที่ชัดเจน ขณะที่มูลค่าตามบัญชี (Book value) ของตลาดหุ้น S&P 500 แตะระดับเดียวกับ Dot com และ Book value S&P 500 ยกเว้น Mag 7 ก็กำลังไต่ระดับสูงต่อเนื่องเช่นกัน ดังนั้นในระยะยาวที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ผ่านพ้นช่วง Soft เข้าสู่ No landing นักลงทุนเจอสถานการณ์เงินเฟ้ออยู่ต่ำกว่า 2% และอัตราการเติบโตเศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะปกติ อยู่ที่ 1.7-2.5% (จาก Longer Run Fed’s projection เดือนก.ย.) ทางเราแนะนำให้กระจายการลงทุนออกจากหุ้นเติบโตที่มูลค่าแพง ไปหุ้นที่มีมูลค่าเหมาะสมและยังมี Discount อยู่ อย่างหุ้นสไตล์ MOAT เพราะเป็นหุ้นมูลค่า และบริษัทเหล่านี้สามารถสร้างรายได้ได้ต่อเนื่องในทุกภาวะ พร้อมทั้งรับมือกับการเข้ามาของคู่แข่งรายใหม่ได้ดี โดยกลุ่ม MOAT มีหุ้นที่อยู่ในกระแส AI เช่นกัน โดยทางเรายังคงมุมมองว่าในกระแสของ AI เป็น Mega Trend ที่ยังคงน่าสนใจในระยะยาว แต่หลังจากนี้ทางเราประเมินว่ากระแส AI จะเปลี่ยนจากช่วงต้นวัฏจักรที่เป็นการลงทุนส่วนวิจัยและพัฒนา เป็นการมองหาบริษัทที่สามารถสร้างรายได้จากสินค้าและบริการจากผลิตภัณฑ์ AI ได้เป็นรูปธรรมมากขึ้น ดังนั้นการเลือกบริษัทที่รายได้หลักมีความมั่นคง และสามารถยึดความได้เปรียบในตลาดเมื่อเกิดการแข่งขันถือว่าเป็นหุ้นที่มีความได้เปรียบมากกว่าบริษัทอื่นในอุตสาหกรรม
Japan’s economic comeback form Labor Shortages ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเกิดความผันผวนในช่วงหลังจาก Unwind Yen Carry Trade ซึ่งในขณะนี้ทางเราได้ประเมินว่าด้วย Position ที่ลดลง เหตุการณ์ดังกล่าว จะส่งผลค่อนข้างจำกัดเมื่อค่าเงินเยนแข็งค่าอย่างรวดเร็วในอนาคต ประกอบกับทาง BoJ มีท่าทีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยล่าช้าออกไป ส่งผลให้ค่าเงินเยน กลับมาอ่อนค่าได้อีกครั้ง หนุนการท่องเที่ยวและส่งออกของญี่ปุ่น แม้ว่าในเดือน ต.ค. PMI ภาคการผลิตและการบริการจะออกมากอยู่ในโซนหดตัว ด้วยเหตุนี้ทางเราประเมินว่าตลาดหุ้นญี่ปุ่นจะเผชิญแรงกดดันด้วยปัจจัยต่อไปนี้
อย่างไรก็ตามทางเราประเมินว่านโยบายการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำจะช่วยบรรเทาปัญหาข้างต้นได้ โดยในตลาดแรงงานที่มีลักษณะแข่งขันสมบูรณ์ตามปกติการเพิ่มค่าจ้างไม่ช่วยให้เพิ่ม Productivity แต่สำหรับญี่ปุ่นจะช่วยให้ค่าจ้างของพนักงานชั่วคราวเพิ่มขึ้นเข้าใกล้พนักงานประจำ ส่งผลให้บริษัทจำเป็นจะต้องพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ขณะที่ด้านแรงงานเมื่อมีรายได้มากพอ อาจจะสามารถเพิ่มการมีบุตร และนำไปสู่การเพิ่มประชากร ซึ่งจะเป็นแรงหนุนให้เกิดโอกาสการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของญี่ปุ่น อาจดึงดูดบริษัทกลับเข้ามาลงทุนในประเทศได้ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่จะแก้ไขได้ในระยะเวลาอันสั้น แต่เห็นโอกาสการเปลี่ยนแปลงแล้วในขณะนี้ ประกอบกับการท่องเที่ยวของญี่ปุ่นฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง จากอานิสงส์ของเงินเยนอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาท่องเที่ยวในญี่ปุ่น โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในญี่ปุ่นมีจำนวนกลับมาใกล้เคียงกับช่วงก่อน Covid-19 ซึ่งจากรายงานการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางไปญี่ปุ่นในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา อยู่ที่ระดับ 3.9 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่าปี 2023 ทั้งปีไปแล้ว ส่งผลให้ราคาโรงแรมและราคาอาหารเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในแหล่งท่องเที่ยวหลัก ดังนั้นในช่วง High Season ของญี่ปุ่น จะช่วยให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตได้ในช่วงที่เหลือของปี เมื่อพิจารณาจาก Forward P/E พบว่าค่อนข้างถูก เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 5 ปี ในอดีต ประกอบกับดัชนี Nikkei225 ปรับตัวลงในช่วงนี้ ทางเราจึงแนะนำให้เข้าลงทุนตลาดหุ้นญี่ปุ่นในช่วงที่เหลือของปี เพื่อรับฤดูกาลท่องเที่ยว
ประกาศ ณ วันที่ 28 ตุลาคม 2567