ลูกค้าบุคคล > LH Bank Advisory > Weekly Report > Wealth Weekly Report 22-04-2024

Wealth Weekly Report 22-04-2024
 

SIGNS OF RATE CUT DELAY
  • อัตราเงินเฟ้อ (CPI) ของสหรัฐฯ ที่สูงกว่าที่คาดการณ์ในเดือนมี.ค. สะท้อนว่าการลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดเป็นไปได้ยาก จึงมีโอกาสที่เฟดจะลดดอกเบี้ยน้อยกว่า 3 ครั้งในปีนี้ นอกจากนี้ ธนาคารกลางสหรัฐสาขาแอตแลนตา เปิดเผยแบบจำลองคาดการณ์ GDPNow ล่าสุดแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัว 2.9% ในไตรมาส 1/2024 บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังคงแข็งแกร่งจะสร้างแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อ
  • ทางเราประเมินว่ายังมีความเสี่ยงที่ในปีนี้เฟดจะยังไม่ปรับลดดอกเบี้ยหรือปรับลดเพียง 1-2 ครั้ง ส่งผลให้กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นยังคงมีความน่าสนใจในภาวะที่ดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในระดับสูง ส่วนตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังคงมีแนวโน้มพักฐาน จากแรงกดดันจากภาวะสงครามในตะวันออกกลาง แนะนำ Buy on dip หุ้นสหรัฐฯ กลุ่ม Defensive Stocks ที่มีความผันผวนต่ำ โดย S&P500 มีแนวรรับที่ 4,820 จุด

TOPIC FOCUS

Signs of Fed rate cut delay​
อัตราเงินเฟ้อ (CPI) ของสหรัฐฯ ที่สูงกว่าที่คาดการณ์ในเดือนมี.ค. สะท้อนว่าการลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดเป็นไปได้ยาก จึงมีโอกาสที่เฟดจะลดดอกเบี้ยน้อยกว่า 3 ครั้งในปีนี้ นอกจากนี้ ธนาคารกลางสหรัฐสาขาแอตแลนตา เปิดเผยแบบจำลองคาดการณ์ GDPNow ล่าสุดแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัว 2.9% ในไตรมาส 1/2024 บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังคงแข็งแกร่งจะสร้างแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อ ทาง LH Bank Advisory ได้ประเมินแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อและกลยุทธ์การลงทุนไว้ดังนี้
 

  • เงินเฟ้อทั่วไป (Headline CPI) ของสหรัฐฯ ในเดือนมี.ค. ขยายตัว 3.5%YoY (0.4%MoM) เร่งตัวขึ้นจาก 3.2%YoY ในเดือนก่อนหน้าและสูงกว่าที่ตลาดคาดที่ 3.4%YoY (0.3%MoM) ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) ขยายตัว 3.8%YoY (0.4%MoM) สูงกว่าที่คาดที่ 3.7%YoY (0.3%MoM) โดยหากพิจารณาตัวเลข Core CPI เฉลี่ย 3 เดือน (3-month annualized rate) เพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือนที่ 4.5% บ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูงนานกว่าที่คาดไว้
  • ปัจจัยหลักที่เป็นแรงกดดันเงินเฟ้อคือหมวดพลังงานและที่อยู่อาศัย โดยเงินเฟ้อหมวดพลังงานเพิ่มขึ้น 2.1%YoY ในเดือนมี.ค. จากที่หดตัว 1.7%YoY ในเดือนก่อนหน้า และเงินเฟ้อหมวดค่าเช่าที่อยู่อาศัย (Shelter CPI) ที่มีน้ำหนัก 1 ใน 3 ของตะกร้าคำนวณ CPI เพิ่มขึ้น 5.7%YoY (0.5%MoM) เทียบกับ 5.8%YoY (0.4%MoM) ในเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้เงินเฟ้อในหมวดบริการหลัก (Core Services) เร่งตัวขึ้น
  • อย่างไรก็ตาม แม้ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรจะแข็งแกร่งกว่าคาด แต่ตัวเลขค่าจ้างแรงงาน ซึ่งวัดจากตัว Average Hourly Earning มีแนวโน้มชะลอตัวลงจาก 5.9%YoY ในเดือนมี.ค. 2022 สู่ระดับ 4.1%YoY ในเดือนมี.ค. 2024 ในขณะที่ดัชนีผลิตภาพแรงงานนอกภาคการเกษตร (Nonfarm Productivity) เพิ่มขึ้นจาก -5.5%QoQ ในไตรมาส 1/2022 สู่ระดับ +3.2%
    ในไตรมาส 4/2024 ทำให้ต้นทุนแรงงานต่อหน่วย (Nonfarm Unit Labor Cost) ลดลงจาก 8.3%QoQ ในไตรมาส 1/2022
    สู่ระดับ 0.4% ในไตรมาส 4/2024 สะท้อนการเติบโตของค่าจ้างมีแนวโน้มชะลอตัวลง ขณะที่ผลิตภาพแรงงานดีขึ้นและต้นทุนต่อหน่วยอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ จึงช่วยลดแรงกดดันต่อเงินเฟ้อ
  • ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังคงมีแนวโน้มพักฐาน จากภาวะซื้อมากเกินไป (Overbought) และแรงกดดันจากภาวะสงครามในตะวันออกกลาง อีกทั้งประธานเฟดได้กล่าวสุนทรพจน์ในงานเสวนาซึ่งจัดขึ้นที่กรุงวอชิงตันเมื่อวันที่ 16 เม.ย. 2024 ว่าแม้ว่าเงินเฟ้อจะชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังไม่มากพอที่จะทำให้เฟดมีความมั่นใจว่าเงินเฟ้อจะปรับตัวลงสู่เป้าหมายที่ระดับ 2% ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond Yield) 10 ปี ของสหรัฐฯ พุ่งแตะระดับ 4.69% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของปีนี้
  • ทางเราประเมินว่ายังมีความเสี่ยงที่ในปีนี้เฟดจะยังไม่ปรับลดดอกเบี้ยหรือปรับลดเพียง 1-2 ครั้ง ส่งผลให้กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นยังคงมีความน่าสนใจในภาวะที่ดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในระดับสูง และแนะนำ  Buy on dip หุ้นสหรัฐฯ กลุ่ม Defensive Stocks ที่มีความผันผวนต่ำ โดย S&P500 มีแนวรรับที่ 4,820 จุด

ดังนั้นภาพรวมไตรมาส 1 ตลาดประเมินอัตราการเติบโตของผลประกอบการบริษัทฯ S&P 500 ที่ 3% ใกล้เคียงกับประมาณการ GDP ทางเราจึงมองว่าเป็นไปได้ โดยมีกลุ่มเทคโนโลยีขนาดใหญ่ Magnificent 7 เป็นกลุ่มขับเคลื่อนหลัก ซึ่งถ้าแยกออกมาจาก S&P 500 ทำให้อัตราเติบโตกำไร S&P 500 ติดลบ 4% อย่างไรก็ตามประมาณการกำไร S&P 500 ปีนี้ เติบโต 10-12% ทางเราประเมินว่าต้องอยู่ภายใต้สถานการณ์เศรษฐกิจที่สนับสนุน ได้แก่ 1. เศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่เกิดภาวะถดถอย และรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ชนะเลือกตั้งยังดำเนินนโยบายขาดดุลทางการคลังกระตุ้นการบริโภคและการจ้างงานต่อเนื่อง 2. เงินเฟ้อสูงขึ้นแต่ไม่พุ่งแรงขึ้นจนเหนืออัตราดอกเบี้ยนโยบายจนเป็นเหตุกดดันให้ปรับขึ้นดอกเบี้ย 3. Refinance ของบริษัทฯ ในครึ่งปีหลังเริ่มเผชิญต้นทุนสูงขึ้น ซึ่งคาดว่า มีโอกาสเห็นการผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้นแต่เสียหายในวงจำกัด ทั้งนี้ผลของสามสถานการณ์อาจจะเป็นไปได้ยากที่จะเห็นการลดดอกเบี้ยในปีนี้ และเพิ่มปัญหาหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ ปรับสูงขึ้น จนทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อยู่ในระดับสูง กดดันให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ผันผวน เพราะผิดจากที่ตลาดคาดหวังไว้ตอนต้นปี ทางเราจึงแนะนำนักลงทุนที่สนใจลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ เน้นกลุ่มหุ้นคุณค่าที่มีความผันผวนต่ำ ขณะที่นักลงทุนที่สนใจหุ้นเติบโต เพื่อคาดหวังผลตอบแทนระยะยาว แนะนำเลือกลงทุนในกลุ่มเซมิฯ ซึ่งเป็นหุ้นคุณค่า ที่มีแนวโน้มรายได้เติบโต และมีปัจจัยสนับสนุนเฉพาะตัว เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อกลุ่มเทคโนโลยีขั้นสูง

 

Weekly Report 22-04-2024

ประกาศ ณ วันที่ 22 เมษายน 2567

เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง