ลูกค้าบุคคล > LH Bank Advisory > Weekly Report > Wealth Weekly Report 19-08-2024

Wealth Weekly Report 19-08-2024
 

RISK-OFF MOOD ON CHINA
  • ทาง LH Bank Advisory ประเมินว่าภาคการผลิตและการบริโภคภายในประเทศของจีนยังคงเปราะบาง สะท้อนผ่านดัชนี PMI ภาคการผลิตของ Caixin เดือนก.ค. อยู่ที่ 49.8 ลดลงจาก 51.8 จุด ในเดือนมิ.ย. และดัชนี PMI ภาคการผลิตของ NBS เดือนก.ค. ปรับตัวลดลงสู่ 49.4 จุด หดตัวเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน และธนาคารจีนปล่อยสินเชื่อใหม่ 260,000 ล้านหยวน (36,280 ล้านดอลลาร์) ในเดือนก.ค. ลดลงเกือบ 88% จากเดือนก่อน ทั้งนี้แม้ว่าดัชนี CSI 300 เทรดอยู่ที่ Forward P/E 11.6 เท่า (ต่ำกว่า -1 S.D.) แต่นักวิเคราะห์ได้ปรับลดประมาณการกำไรต่อหุ้น (EPS) ของดัชนี CSI 300 ในปีนี้ลงประมาณ 6% ทางเราจึงแนะนำให้ลดน้ำหนักการลงทุนในหุ้นจีนลง จากตัวเลขเศรษฐกิจของจีนส่วนใหญ่ยังไม่ส่งสัญญาณฟื้นตัว
  • ทางเราประเมินว่ายังคงมีแรงกดดันในตลาดตราสารหนี้จีน ภายใต้ภาวะอัตราดอกเบี้ยขาลงจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง และโอกาสที่อุปสงค์หดตัว จาก Sentiment ของเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อตราสารหนี้ในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่อาจจะเกิดการผิดนัดชำระหนี้เพิ่มเติม จนอาจลุกลามไปยังกลุ่มการเงิน ซึ่งในปี 2025 จะมีตราสารหนี้ที่ครบกำหนดชำระหนี้มากกว่าปีนี้ และส่วนใหญ่อยู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ และธนาคารท้องถิ่น จึงมีโอกาสที่อาจเกิดความผันผวนในตราสารหนี้จีนอีกครั้ง อีกทั้งพบว่าการออกหุ้นกู้ของบริษัทที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำ มีอัตราในการออกหุ้นกู้ที่ต่ำไปด้วย สะท้อนสภาพคล่องของบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือต่ำ ซึ่งอาจจะกระทบต่อห่วโซ่อุปทานได้ เมื่อพิจารณาจากมูลค่าพบว่ายังคงไม่น่าสนใจจาก Credit Spread ที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยยิ่งตอกย้ำความไม่น่าสนใจของตราสารหนี้จีน ดังนั้นทางเราจึงแนะนำให้ Wait & See ตราสารหนี้จีน โดยเฉพาะตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำ 

TOPIC FOCUS

The Missing Catalysts of China Market

ดัชนี CSI 300 ที่สะท้อนภาพรวมตลาดหุ้นจีนและดัชนี HSCEI ซึ่งเป็นตัวแทนของหุ้นจีนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงได้ปรับตัวลงกว่า 10% จากจุดสูงสุดในเดือนพ.ค. จากภาพรวมทั้งภายในประเทศและต่างประเทศที่ยังขาดปัจจัยหนุน (Catalysts) ในระยะสั้น ขณะที่จากการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 3 (Third Plenum) มุ่งเน้นนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ปฏิรูประบบการศึกษา ปรับปรุงระบบการเงินการคลัง การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน และการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด อย่างไรก็ตาม ในการประชุมยังไม่ได้มีการประกาศรายละเอียดของนโยบายเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปอย่างเป็นรูปธรรมและไม่มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น ซึ่งทาง LH Bank Advisory ประเมินความท้าทายของเศรษฐกิจจีนในการบรรลุเป้าหมายการเติบโตของ GDP ทั้งปีในปี 2024 ที่ 5% ดังนี้

  • อัตราเงินเฟ้อของจีนฟื้นตัวขึ้น 0.5%YoY ในเดือนก.ค. หลังจากเพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนมิ.ย. โดยมีปัจจัยหนุนจากราคาเนื้อหมูที่พุ่งขึ้น 20.4% เนื่องจากโรคระบาดและปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการผลิต ขณะที่ราคาค่าเช่าลดลง 0.3% สะท้อนภาวะของภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังคงซบเซา นอกจากนี้ ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนก.ค. ลดลง 0.8% บ่งชี้ถึงภาวะเงินฝืดของผู้ผลิตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 22 ส่งผลให้ในเดือนก.ค. ที่ผ่านมา ธนาคารกลางจีน (PBOC) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (Loan Prime Rate: LPR) ประเภท 1 ปี และ 5 ปี ลงอย่างละ 10 bps และลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะกลาง (Medium-Term Lending Facility: MLF) ระยะ 1 ปี ลง  20 bps แต่ยังไม่เพียงพอที่ฟื้นความเชื่อมั่นของนักลงทุนได้
  • ส่วนราคาบ้านใหม่ในเดือนก.ค. หดตัว 4.9% ซึ่งนับว่าเป็นอัตราหดตัวสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2015 และราคาแร่เหล็กลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 10 ปี เนื่องจากภาคการก่อสร้างลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนก.ค.ของจีนเพิ่มขึ้น 5.1% แต่ต่ำกว่าที่ตลาดคาด มาจากการส่งออกที่อ่อนแอลงโดยเฉพาะการส่งออกรถยนต์ไฟฟ้า อันเนื่องมาจากผลกระทบของภาษีการค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ยอดค้าปลีกเดือนก.ค. ปรับตัวขึ้น 2.7%YoY เพิ่มขึ้นจาก 2% ในเดือนก่อนหน้า จากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ฟื้นตัว 
  • มูลค่าการส่งออกของจีนเพิ่มขึ้น 7%YoY ในเดือนก.ค. ชะลอตัวลงจาก 8.6% ในเดือนมิ.ย. โดยการส่งออกของจีนไปยังสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 8% ซึ่งคาดว่าเป็นการเร่งตัวก่อนการปรับขึ้นภาษีของสหรัฐฯ ที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในเดือนส.ค. 2024 ขณะที่ในครึ่งปีหลังทิศทางการค้าของโลกส่งสัญญาณชะลอตัว และการเริ่มใช้มาตรการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป จะทำให้การส่งออกไปยังสหรัฐฯ และยุโรป มีแนวโน้มชะลอตัวลง ส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้น 7.2%YoY ในเดือนก.ค.  มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 3.5% เป็นอย่างมาก ขณะที่ในเดือนมิ.ย. การนำเข้าหดตัว 2.3% จากอุปสงค์ภายในประเทศยังคงอ่อนแอ บ่งชี้การฟื้นตัวที่ไม่ต่อเนื่อง 

ทาง LH Bank Advisory ประเมินว่าภาคการผลิตและการบริโภคภายในประเทศของจีนยังคงเปราะบาง สะท้อนผ่านดัชนี PMI ภาคการผลิตของ Caixin เดือนก.ค. อยู่ที่ 49.8 ลดลงจาก 51.8 จุด ในเดือนมิ.ย. และดัชนี PMI ภาคการผลิตของ NBS เดือนก.ค. ปรับตัวลดลงสู่ 49.4 จุด หดตัวเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน และธนาคารจีนปล่อยสินเชื่อใหม่ 260,000 ล้านหยวน (36,280 ล้านดอลลาร์) ในเดือนก.ค. ลดลงเกือบ 88% จากเดือนก่อน ทั้งนี้แม้ว่าดัชนี CSI 300 เทรดอยู่ที่ Forward P/E 11.6 เท่า (ต่ำกว่า -1 S.D.) แต่นักวิเคราะห์ได้ปรับลดประมาณการกำไรต่อหุ้น (EPS) ของดัชนี CSI 300 ในปีนี้ลงประมาณ 6% ทางเราจึงแนะนำให้ลดน้ำหนักการลงทุนในหุ้นจีนลง จากตัวเลขเศรษฐกิจของจีนส่วนใหญ่ยังไม่ส่งสัญญาณฟื้นตัว

Chinese Corporate Bonds Under Pressure amid PBoC rate cut

รายงานตัวเลขภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนออกมายังคงอ่อนแออย่างต่อเนื่อง โดยถูกกดดันจากทั้งปัจจัยภายนอก อย่างสงครามการค้าระหว่างจีน และสหรัฐฯ ที่ขยายตัวออกไปยังเอเมริกาใต้ และยุโรป อีกทั้งการกระจายศูนย์การผลิตออกจากจีน ส่งผลให้ FDI ของจีนลดลงอย่างต่อเนื่อง กระทบการบริโภคภายในประเทศจีนให้ชะลอตัวลง ทำให้ตลาดประเมินว่าธนาคารกลางจีนมีแนวโน้มที่จะลดอัตราดอกเบี้ย สอดคล้องกับ Fed อย่างไรก็ตามทางเราประเมินว่าตราสารหนี้จีนในปัจจุบันก็ยังไม่มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัว โดยเฉพาะตราสารหนี้ภาคเอกชน ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่า Investment Grade

  • เศรษฐกิจจีนยังไม่พบสัญญาณฟื้นตัว โดยจีนกำลังประสบกับปัญหา Supply ล้นตลาด จากการส่งออกไปยังสหรัฐฯ และยุโรปที่ถูกกีดกันด้วยกำแพงภาษี ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมากในปี 2025 ที่จะเก็บภาษีแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ EV จึงทำให้จีนขยายตลาดไปยังเอเชียโดยการทุ่มตลาด ในครั้งนี้จะส่งต่อส่วนต่างกำไร (Profit Margin) ของสินค้าจากจีนที่ลดลง อีกทั้งสัญญาณเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐฯ ที่ใกล้เข้ามา โดย GS ได้เพิ่ม Recession Index ขึ้นอยู่ในระดับ 50% นำไปสู่ อุปสงค์ที่หดตัว กดดัน Sentiment การบริโภคทั่วโลก ด้วยเหตุนี้ประเมินว่า Supply ของจีนจะยังคงล้นต่อไป และกดดันผลประกอบกับของบริษัทในจีน
  • ในทางเดียวกัน ตลาดแรงงานมีแนวโน้มอ่อนแอ เนื่องจากการผลิตที่ชะลอตัวลง โดยต้นทุนแรงงานที่ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง และอัตราว่างงานเดือน ก.ค. เพิ่มขึ้นที่อยู่ในระดับ 5.2% อีกทั้งเมื่อเทียบชั่วโมงทำงานต่อสัปดาห์ก็อยู่ในระดับสูงกว่าช่วง Pre-Covid สะท้อนว่าแรงงานในจีนจะต้องทำงานหนักขึ้น โดยที่ไม่สามารถต่อรองค่าจ้างได้ ยิ่งตอกย้ำการบริโภคภายในประเทศ
  • ด้วยเหตุนี้ความบอบช้ำของภาคอสังหาริมทรัพย์ดูเหมือนจะทวีความรุนแรงขึ้น จากความอ่อนแอของอุปสงค์บ้าน แม้ว่ารัฐบาลจะออกมาตรการลดเงินดาวน์ หรือแม้กระทั่งลดอัตราดอกเบี้ย แต่ด้วยความสามารถในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่ต่ำมาก ส่งผลให้เดือน ก.ค. ที่ผ่านมาราคาที่พักอาศัยเพิ่มขึ้นเพียงแค่ 2 มณฑล ใน 70 มณฑล ส่งผลให้ราคาบ้านปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง จึงประเมินว่าแม้ PBoC จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย ก็ไม่ได้ช่วยกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ขนาดนั้น
  • อีกทั้งในปี 2025 มีสินเชื่อ Offshore ที่จะครบกำหนดประมาณ 1.04 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งมีสัดส่วนของภาคอสังหาริมทรัพย์กว่า 30% ในขณะที่ปีนี้มีสินเชื่อที่ครบกำหนดเพียง 92 พันล้านดอลลาร์เท่านั้น บ่งชี้ว่าปีหน้าจีนจะต้องกลับมาเผชิญกับความผันผวนด้านเครดิตอีก ประกอบกับการออกสินเชื่อสำหรับผู้ออกหุ้นกู้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำ มีสัดส่วนที่ลดลง และตัวเลขการปล่อยสินเชื่อของภาคธนาคารที่ลดลง บ่งชี้สภาพคล่องและเงินลงทุนสำหรับภาคธุรกิจจะลดลง ซึ่งอาจนำไปสู่โอกาสในการผิดนัดชำระหนี้ที่เพิ่มขึ้นในปีหน้า

เมื่อพิจารณาจาก China Credit Spread ที่มีความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับ AAA+ ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วจากตั้งแต่ช่วงต้นปี บ่งชี้ความเสี่ยงสำหรับการลงทุนในตราสารหนี้จีนมากขึ้น อีกทั้งอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง สะท้อนความน่าสนใจของตราสารหนี้จีนที่มีน้อยลงไปอีก โดยรายงานของ HSBC ระบุว่า Fund Flow ไหลเข้าพันธบัตรจีน ส่งผลให้ Bond Yield 10 ปี ของจีน ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุด เนื่องจากนักลงทุนเกิดภาวะ Risk Off จากการลงทุนในจีน จนทำให้รัฐบาลจีนควบคุมการซื้อขายพันธบัตรของธนาคารท้องถิ่นอีกด้วย ดังนั้นทางเราจึงแนะนำให้ Wait & See ตราสารหนี้จีน โดยเฉพาะตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำ 

Weekly Report 19-08-2024

ประกาศ ณ วันที่ 19 สิงหาคม 2567

เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง