หลังจากทาง LH Bank Advisory ได้ประเมินถึงภาวะการเงินในระบบยังตึงตัวและยาวนานกว่า (Tighter and Longer) จากความพยายามของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ต้องการควบคุมเงินเฟ้อ จนเป็นเหตุให้ผลตอบแทนพันธบัตรปรับสูงขึ้น (Yield) กดดันตลาดลงทุนให้ผันผวน ดังนั้นทางเราจึงแนะนำกลยุทธ์ Multi Asset ที่กระจายน้ำหนักการลงทุนในหลายสินทรัพย์ ได้แก่
Tighter and Longer
ทาง LH Bank Advisory ได้ประเมินถึงผลตอบแทนพันธบัตรที่จะปรับสูงขึ้น (Yield) จากผลของดอกเบี้ยสูงและยาวนานกว่าที่คาด (Higher for Longer) อันมีสาเหตุจากภาวะเงินเฟ้อสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด ซึ่งเวลานี้มีปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดสถานการณ์เงินเฟ้อสูงแต่การเติบโตเศรษฐกิจตกต่ำ (Stagflation) โดยมีปัจจัยกระตุ้นจากความเสี่ยงการเกิด Supercycle ของกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ หลังถูกซ้ำเติมด้วยประเด็นสงครามในอิสราเอล ประกอบกับภาคแรงงานในสหรัฐฯ ที่ยังตึงตัว บ่งชี้จากรายงานการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่เปิดตำแหน่งงานมากขึ้น 330,000 ตำแหน่ง มากกว่าที่ตลาดคาดไว้เกือบ 2 เท่า และค่าจ้างรายชั่วโมงเพิ่มขึ้น เล็กน้อย 0.2% MoM ซึ่งทางเรามีมุมมองว่าภาคแรงงานยังมีโอกาสตึงตัวต่อในไตรมาสที่ 4 เพราะอานิสงส์ของนโยบาย Bidenomic ที่เร่งก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่และใช้งบประมาณมหาศาล ทำให้เกิดตำแหน่งงานที่เปิดรับจากรัฐบาลเข้ามาแย่งแรงงานกับภาคเอกชน
ทั้งนี้เมื่อมองภาพรวมการใช้วงเงินมหาศาลของปธน. ไบเดน จำเป็นต้องขายตั๋วเงินและพันธบัตรในปริมาณที่มาก (Supply Bond) ขณะที่การดำเนินนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) นอกจากปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ยังมีการทยอยปรับลดขนาดงบดุล (Quantitative tightening ; QT) ซึ่งในเวลานี้ขนาดงบดุลถูกปรับลดมาถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตั้งแต่เริ่มทำ QT สะท้อนว่า ผู้ซื้อพันธบัตรรายสำคัญได้หายไป (Demand Bond) ซึ่งทางเราประมาณการจากอัตราการปรับลดของ QT ที่ 9.5 หมื่นล้านดอลลาร์/เดือน หากกลับไปสู่ปริมาณงบดุลก่อนมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงโควิด จะเป็นช่วง 3Q2024 ขณะที่ตลาดคาดว่า Fed อาจทำ QT จนถึงสิ้นปี 2025 ดังนั้นทางเรายืนยันว่า สภาวะตลาดลงทุนเวลานี้เผชิญกับ ภาวะการเงิน (Financial Condition) ที่ตึงตัวและยาวนานกว่า (Tighter and Longer) จนเป็นเหตุให้ผลตอบแทนพันธบัตรปรับสูงขึ้น (Yield) กดดันตลาดลงทุนให้ผันผวน
Back in Balance อาจจะเป็นกลยุทธ์การลงทุนที่ตอบโจทย์ คือ การลงทุน Multi Asset ที่กระจายน้ำหนักการลงทุนในหลายสินทรัพย์ เพื่อลดความผันผวนจากภาวะตลาด โดยทางเรายังคงแนะนำแบ่งสรรเงินลงทุนตราสารหนี้ แม้ว่าตลาดตราสารหนี้ยังเผชิญปัจจัยเสี่ยงที่สนับสนุนให้ผลตอบแทนพันธบัตรสูงขึ้น หรือในด้านราคาการ Mark to Market ราคาของพันธบัตรนี้เสี่ยงที่จะติดลบ อย่างไรก็ตาม หากพิจารณา Rule of thumb การซื้อพันธบัตรและตราสารหนี้ด้วยกลยุทธ์ Buy and Hold จะทำให้พอร์ตการลงทุน ตราสารหนี้ไม่มีประเด็นความเสี่ยงด้านราคา ดังนั้นหากนักลงทุนเลือก Duration ของพันธบัตรที่ยังเป็นระยะสั้น 3 เดือน ถึง 3 ปี ซึ่งให้ผลตอบแทนพันธบัตรสูงถึง 5% ซึ่งถือเป็นระดับที่น่าสนใจสำหรับสินทรัพย์ที่ไร้ความเสี่ยง อีกทั้งยังเป็นการถือครองในกลุ่มสินทรัพย์ตลาดเงิน เพื่อสร้างสภาพคล่องให้พร้อมคว้าโอกาสลงทุนในยามที่ตลาดหุ้นปรับฐาน
ขณะที่การลงทุนในหุ้นจำเป็นต้องเลือกประเทศที่มีปัจจัยสนับสนุนเฉพาะตัว อย่างหุ้นเวียดนาม ซึ่งได้รับประโยชน์จากการกระจายฐานการผลิตของนักลงทุนต่างประเทศ ทำให้เวียดนามมีแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวของ และเวียดนามมีโอกาสที่จะถูกปรับเข้ากลุ่ม Emerging Market ทั้งในดัชนี MSCI และ FTSE
Best time for short-term bond
จากการที่ Fed ขึ้นอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับ 5.00% - 5.25% และอัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงแต่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมายนั้น และจาก Dot Plot บ่งชี้ว่า Fed จะดำเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัวต่อไปเป็นเวลานานกว่าที่คาดไว้ อย่างไรก็ตาม ตลาดให้น้ำหนักการเกิด Soft Landing มากกว่า Hard Landing ส่งผลกระทบต่อนักลงทุนให้น้ำหนักการลงทุนในตราสารทุนมากกว่าตราสารหนี้ ในทางกลับกันเราประเมินว่าขณะนี้ตราสารหนี้มีความน่าสนใจกว่า โดยเฉพาะตราสารหนี้ระยะสั้นดังนี้
จากข้อมูลข้างต้นสรุปได้ว่าตราสารหนี้ระยะสั้นมีความน่าสนใจ เนื่องจากผลตอบแทนของตลาดหุ้นสหรัฐอยู่ในระดับใกล้เคียงกับผลตอบแทนตราสารหนี้ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า และตราสารหนี้ระยะสั้นให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าตราสารหนี้ระยะยาว อีกทั้งตราสารหนี้มีความสามารถในการลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุน ในปัจจุบันทาง LH Bank Advisory จึงแนะนำให้มีสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น
ประกาศ ณ วันที่ 16 ตุลาคม 2566