Responsible Lending > ปรับโครงสร้างหนี้ ดีกว่าไหม? ถ้าเริ่มไม่ไหวกับการจ่ายหนี้
การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending)
ปรับโครงสร้างหนี้ ดีกว่าไหม? ถ้าเริ่มไม่ไหวกับการจ่ายหนี้
 

เมื่อมีปัญหาเลือกทางไหนดี ?

1. จ่ายบางส่วนพอไหวยังไม่เป็นหนี้เสีย >> ขอปรับโครงสร้างหนี้ให้จ่ายได้เท่าที่ไหว >> รหัส 10- ปกติ โดยระบุประเภทของสัญญา* และวันที่ทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้
2. เป็นหนี้เสียแต่อยากจ่ายต่อ >> ขอปรับโครงสร้างหนี้ให้จ่ายได้เท่าที่ไหว >> เมื่อเริ่มจ่ายตามสัญญา จะเปลี่ยนจากรหัส 20- หนี้ค้างชำระเกิน 90 วัน เป็น รหัส 10- ปกติ โดยระบุประเภทของสัญญา* และวันที่ทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้
3. เป็นหนี้เสียแต่ปล่อยไหลไม่ปรับโครงสร้างหนี้ >> ไม่ปรับ โครงสร้างหนี้ >> จากรหัส 20- หนี้ค้างชำระเกิน 90 วัน เปลี่ยนเป็น รหัส 30- หากอยู่ในกระบวนการทางกฎหมาย (ถูกฟ้องร้อง)
 
*ประเภทสัญญา
รหัส 01  :  ปรับปรุงโครงสร้างหนี้เชิงป้องกัน (Debt restructuring : DR)
รหัส 02  :  ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา (Troubled debt restructuring : TDR)
รหัส 03 :  ข้อตกลงเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสัญญาตามมาตรการ PD (Persistent debt : PD)
 
“การปรับโครงสร้างหนี้” สะท้อนความตั้งใจที่จะกลับมาจ่ายตามที่ตกลงกันใหม่
มีโอกาสที่เจ้าหนี้จะพิจารณาให้สินเชื่อมากกว่าปล่อยให้เป็นหนี้เสีย
 
•  ลูกหนี้มีสิทธิขอปรับโครงสร้างหนี้ทั้งก่อนและหลังเป็นหนี้เสีย ติดต่อธนาคารที่ใช้บริการ
•  หากไม่ได้รับความสะดวก โทร. 1213 ต่อ 99 ธนาคารแห่งประเทศไทย

 
#แก้หนี้ยั่งยืน #เจ้าหนี้รับผิดชอบ #ลูกหนี้มีวินัย #LHBank

ปรับโครงสร้างหนี้ดีกว่าไหม-Detail.jpg
เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง