Big-Tech challenges are likely to continue whatever who wins การเลือกตั้งสหรัฐฯ ในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2024 ถือเป็นนัดเปลี่ยนชะตาครั้งยิ่งใหญ่ โดยในขณะนี้พรรคเดโมแครต ภายใต้การนำโดยนางกมลา แฮร์ริส เริ่มมีคะแนนพลิกฟื้นขึ้นนำ ทางพรรครีพับลิกัน ที่นำโดยนายโดนัล ทรัมป์ หลังจากการเปลี่ยนแคนดิเดตแทนอดีตประธานาธบดี ไบเดน เพียงไม่ถึงเดือนเท่านั้น ซึ่งได้รับคะแนนมาจากนโยบายที่มีความยืดหยุ่น โดยเน้นนโยบายประชานิยม อีกทั้งจากข้อมูลในอดีตพบว่าในช่วงปีเลือกตั้งตลาดหุ้นสหรัฐฯ มักจะปรับตัวขึ้นได้หลังจากการเลือกตั้ง 2 เดือน อย่างไรก็ตามทาง LH Bank Advisory ประเมินว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะเผชิญกับความท้าทาย โดยเฉพาะกลุ่มเทคโนโลยี แม้ว่าใครจะชนะการเลือกตั้งก็ตาม “กฏหมายป้องกันการผูกขาด” หรือ Antitrust Law เพื่อให้ตลาดเกิดความเป็นธรรม โดยสหรัฐฯ เริ่มเข้มงวดมากขึ้นในช่วงปี 2023 อย่างเช่น กรณีของบริษัท Apple ถูกกล่าวหาว่ามีพฤติกรรมในการผูกขาด โดยการขัดขวางความสะดวกในการส่งข้อความข้ามแพลตฟอร์ม ซึ่งจะสามารถส่งได้เฉพาะแอปพลิเคชันส่งข้อความกับเครือข่ายของผู้ที่ใช้ iOS ด้วยกันเท่านั้น รวมทั้งจำกัดการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ที่ไม่ได้มาจากค่ายเดียวกัน และ Apple สร้างข้อจำกัดใน App Store โดยสามารถระงับการเข้าถึงแอปพลิเคชันของผู้ใช้งานได้ เป็นเหตุให้ถูกปรับมูลค่ากว่า 2 พันล้านดอลลาร์ รวมถึง Meta ที่เคยถูกพิจารณาคดีในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ด้วยเหตุนี้จึงประเมินว่า Anti-trust Law จะเป็นปัจจัยกดดันต่อหุ้นขนาดใหญ่ต่อไป แม้ว่าแฮร์ริส จะสานต่อนโยบาย Bidenomics ก็ตาม แต่มีนโยบายขึ้นภาษีนิติบุคคล จึงนำไปสู่การกดดันผลประกอบการของบริษัทในสหรัฐฯ โดยแฮร์ริส สนับสนุน Inflation Reduction Act โดยเน้นการใช้จ่ายพลังงานสะอาดจำนวนมาก และลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ที่ใช้รถยนต์ไฟฟ้า โดยจะสามารถลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้ถึง 1,800 ดอลลาร์ และช่วยให้แต่ละครอบครัวลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานลงกว่า 1,000 ดอลลาร์ เพื่อเป็นการลดเงินเฟ้ออย่างยั่งยืนในอนาคต อย่างไรก็ตามจากการตั้งกำแพงภาษีสินค้าจากจีนเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ราคารถยนต์ไฟฟ้าสูงขึ้น เป็นเหตุให้แฮร์ริส ตั้งเป้าหมายการใช้รถยนต์ไฟฟ้าลดลงครึ่งหนึ่งจากเป้าหมายเดิมของไบเดน อีกทั้งการขึ้นภาษีนิติบุคคลจาก 21% เป็น 28% โดยยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนนี้ จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อบริษัทในสหรัฐฯ ในขณะที่ทรัมป์ มีแผนขยาย Tax Cut and Jobs Act ออกไป โดยคงภาษีนิติบุคคลที่ 21% ซึ่งช่วยหนุนต้นทุนของบริษัท ในทางกลับกันทรัมป์มีแนวคิดเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันของบริษัทสหรัฐฯ จึงมีแผนออกจาก Paris Agreement ที่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงจะผ่อนปรนกฎระเบียบการปล่อยมลพิษสำหรับโรงไฟฟ้าถ่านหิน และคัดค้านโยบาย Green New Deal โดยจะขุดเจาะพลังงานธรรมชาติจากในสหรัฐฯ เอง แน่นอนว่ารถยนต์ไฟฟ้าคงจะได้รับการสนับสนุนน้อยลง ดังนั้นบริษัทที่ได้ประโยชน์จากพลังงานสะอาดรวมทั้ง Smart Grid ที่มีการใช้ Semiconductor ก็จะถูกแรงกดดันไปด้วย หากเป็นเช่นนี้การเติบโตของบริษัทกลุ่มเทคโนโลยี จะเหลือปัจจัยในการสนับสนุนอย่างเดียวคือการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed ซึ่งหากเผชิญกับตลาดแรงงานที่อ่อนแอ จากตัวเลข Non-farm payroll ที่ถูกปรับลดลงกว่า 8 แสนตำแหน่ง อาจส่งผลให้ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนลดลง นำไปสู่การพักฐานของราคาหุ้นสหรัฐฯ โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีสหรัฐฯ ที่มี Forward P/E สูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี มากกว่า 1S.D. ถือว่าค่อนข้างแพง อย่างไรก็ตามยังคงเหลือเวลาอีกเกือบ 2 เดือนก่อนวันเลือกตั้ง ทางเรายังคงคาดหวังให้มีนโยบายใหม่ๆ ที่เข้ามาผลักดันให้ผลประกอบการยังคงเติบโตขึ้นไปได้
Inside India เศรษฐกิจอินเดียยังคงเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง โดย GDP ในไตรมาส 1/2024 ขยายตัว 7.8%YoY และจาก Bloomberg Consensus คาดการณ์ว่า GDP ของอินเดียทั้งปี 2024 จะเติบโตถึง 7.2% ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อตลาด อีกทั้งอินเดียได้ประโยชน์จากสร้างสมดุลในห่วงโซ่การผลิต โดยการกระจายฐานการผลิตออกนอกประเทศไปยังประเทศอื่น ๆ เพื่อกระจายความเสี่ยงทางการค้า ตามกลยุทธ์ "China Plus One" ซึ่งทาง LH Bank Advisory ได้ประเมินมุมมองต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้นอินเดีย ดังนี้
Announcement on 26 August 2024