Magnificent 7 : room to run? หุ้น Magnificent 7 ถือเป็นบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลกที่ได้ประโยชน์จาก AI: Alphabet, Amazon, Apple, Meta Platforms, Microsoft, NVIDIA และ Tesla คิดเป็นมูลค่าประมาณ 45% ของ US GDP โดยหุ้นในกลุ่ม Magnificent 7 ปรับตัวขึ้นในปี 2023 74% ขณะที่ดัชนี Nasdaq 100 เพิ่มขึ้น 54% และ S&P500 เพิ่มขึ้น 24% และแม้ว่าหลัง ดัชนี Nasdaq 100 มีการปรับสมดุล (Rebalancing) ในวันที่ 24 ก.ค. 2023 เพื่อรักษาน้ำหนักของหุ้นให้เหมาะสม ดัชนี Nasdaq 100 ยังคงขึ้นอยู่กับหุ้นยักษ์ใหญ่เพียงไม่กี่ตัว โดย Magnificent 7 ยังคงมีผลต่อน้ำหนักดัชนี Nasdaq 100 ถึง 62% (ณ วันที่ 12 ม.ค. 2024) และคำถามที่ตามมาคือ หุ้นกลุ่มนี้จะวิ่งต่อไปอีกนานแค่ไหน? ทาง LH Bank Advisory ประเมินไว้ดังนี้
ทาง LH Bank Advisory มีมุมมองเชิงบวกต่อหุ้น Big Tech ในสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ตลาดคาดการณ์การลดดอกเบี้ยนโยบายของ Fed มากกว่าการคาดการณ์ตามรายงาน Fed Dot Plot ซึ่งหากอัตราดอกเบี้ยจริงอยู่สูงกว่าที่ตลาดคาด ตลาดหุ้นอาจได้รับแรงกดดัน โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มเทคฯ และหลังจากสหรัฐฯ เปิดเผยยอดค้าปลีกที่แข็งแกร่งเกิดคาด ทำให้ตลาดเริ่มรับรู้ (price in) ว่า Fed อาจยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมี.ค.ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ จึงแนะนำ Buy on dip และแนะนำกระจายการลงทุนในหุ้นเติบโตคุณภาพสูงและไม่กระจุกตัวอยู่ในหุ้นบางกลุ่มบางอุตสาหกรรมเพื่อสร้างสมดุลและลดความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน
Blockchain เทคโนโลยีเบื้องหลังของ Mega trend Blockchain คือเทคโนโลยีเก็บข้อมูลดิจิทัลแบบกระจายศูนย์ โดยการบันทึกข้อมูลดังกล่าวจะมีการสร้างสำเนาแก่ผู้ใช้งานเครือข่ายทุกคนเสมือนกับไม่มีตัวกลาง พร้อมทั้งมีการตั้งรหัสผ่านเข้าใช้งานอีกด้วย และจากเหตุที่ปริมาณสำเนาข้อมูลมากมายนี้เป็นปัจจัยให้การถูกโจมตีทางไซเบอร์ทำได้ยาก จึงทำให้ Blockchain เป็นเทคโนโลยีเก็บข้อมูลมีความปลอดภัยสูง และถูกใช้งานในฐานะเทคโนโลยีผู้อยู่เบื้องหลังกระแสการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีที่สำคัญ (Mega trend) อย่าง Cryptocurrency และ AI ทาง LH Bank Advisory มองว่ากระแสการลงทุน Blockchain น่าถูกจับตามองอีกครั้งในปี 2024 ด้วยปัจจัยสนับสนุน
ด้วยปัจจัยข้างต้นนี้ทำให้เราได้เห็นโอกาสการเติบโตของตลาด Blockchain ทั่วโลกอยู่ซึ่งอยู่ประมาณ 4.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2022 และเป็น 2,334.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2030 คิดเป็นอัตราการเติบโตต่อปี (CAGR) ที่ 85.7% กองทุนแนะนำ LHBLOCKCHAIN ที่ลงทุนหลักในกองแม่คือ IVZ COINSHRS GLBL BLOCKCHAIN (BCHN) และ VANECK DIGITAL TRANSFORMATION ETF (DAPP) ประมาณ 55% และ 35% ตามลำดับ โดยที่ลงทุนในหุ้นที่เกี่ยวกับ Bitcoin คือหุ้น COINBASE สูงถึง 6.14% ทั้งนี้ด้วยกระแสเงินทุนเข้าหุ้นเติบโตเพื่อรับอานิสงส์การคาดการณ์ Fed ปรับลดดอกเบี้ยตั้งแต่ครึ่งปีแรก และการปรับตัวของ Blockchain ตามกระแสเก็งกำไรข่าวอนุมัติ Bitcoin ETF ทำให้มูลค่าของ Blockchain ตึงตัวและเสี่ยงถูกขายทำกำไร จึงแนะนำนักลงทุนระยะสั้น Let Profit Run ขณะที่นักลงทุนที่มองหาโอกาสสร้างผลตอบแทนการลงทุนระยะยาวรอจังหวะ Buy on dip โดยที่สัดส่วนการลงทุนไม่เกิน 10% ของพอร์ท
Fed pivot, Asian bond is not a good investment option Fed มีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปี 2024 ส่งผลให้ตลาดตราสารหนี้เอเชียเริ่มปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ ปรับตัวลง เป็นเหตุให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง เมื่อนั้นนักลงทุนจะพยายามหาสินทรัพย์ที่ได้ผลตอบแทนสูงกว่า นั่นคือตราสารหนี้เอเชีย ในขณะที่ประเทศในตลาดเกิดใหม่และเอเชีย มีภาวะทางการเงินที่ค่อนข้างผ่อนคลายมากกว่าสหรัฐฯ จากการที่ประเทศส่วนใหญ่มีอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับกรอบเป้าหมาย ส่งผลให้ธนาคารกลางและรัฐบาลมีความยืดหยุ่นในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามทาง LH Bank Advisory ประเมินว่าว่ายังเร็วเกินไปที่จะสรุปว่าตราสารหนี้ในเอเชียน่าสนใจในขณะนี้ เนื่องด้วยส่วนต่างอัตราผลตอบแทน (Yield Spread) ระหว่างอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้เอเชียและอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้สหรัฐฯ อยู่ในระดับต่ำ 1.9% ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีดตที่ 2.1% บ่งชี้ว่าตราสารหนี้เอเชียมี Valuation ค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับในอดีต อย่างไรก็ตามเมื่อ Fed ปรับลดอัตราดอกเบี้ย เราเห็นแนวโน้มที่ Yield Spread อาจปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยในอนาคต ดังนั้นนักลงทุนควรจับตามอง Yield Spread หากปรับขึ้นในระดับที่เหมาะสม จะเป็นจุดในการพิจารณาตราสารหนี้เอเชียต่อไป การลงทุนในตราสารหนี้ ไม่เพียงแต่ต้องพิจารณาจากความสามารถในการสร้างผลตอบแทนเท่านั้น แต่ยังต้องคำนึงถึงความเสี่ยงในด้านการผิดนัดชำระหนี้เป็นสำคัญ ซึ่งตราสารหนี้เอเชียมีความเสี่ยงด้านการผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้นมากกว่าสหรัฐฯ เนื่องจาก Credit Default Swap Index ของเอเชียไม่รวมญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้น 3.88 จุด ในขณะสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเพียง 0.27 จุด ที่ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา บ่งชี้นักลงทุนให้น้ำหนักความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ของเอเชียสูงกว่าในสหรัฐฯ นอกจากนี้อัตราการผิดนัดชำระหนี้ (Default Rate) มีของตราสารหนี้เอเชียปรับตัวสูงขึ้น 4.1% YoY เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงเดือน มิถุนายน 2023 ในขณะที่ Default Rate ของตราสารหนี้สหรัฐฯ ลดลง 2.3% YoY ซึ่งอยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วงก่อนโควิด-19 อีกทั้งในปี 2024 มีตราสารหนี้ High Yield ในฝั่งเอเชีย (นับเฉพาะผู้ออกตราสารหนี้ที่ยังไม่เคยผิดนัดชำระหนี้) จะครบกำหนด สูงกว่าในปี 2023 เกือบ 3 เท่า สะท้อนว่าในปีนี้ตราสารหนี้ในฝั่งเอเชียมีโอกาสที่จะผิดนัดชำระหนี้มากขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อลงทุนในเอเชียหรือในประเทศตลาดเกิดใหม่ เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเผชิญกับความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งในอดีตพบว่า การเปลี่ยนแปลงอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้มีผลกระทบมากกว่าการเปลี่ยนแปลงด้านค่าเงิน แต่เมื่อพิจารณาค่าเงินพบว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นไปกว่า 3.60% เมื่อพิจารณาเทียบกับช่วงที่ Fed ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอดีต ปี 1999 – 2000, 2008 – 2009, และปี 2015 – 2018 ค่าเงินดอลลาร์เปลี่ยนแปลงไป 5.73%, -4.10%, และ -2.49% ตามลำดับ เห็นได้ว่าในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ ใกล้เคียงกับช่วงปี 1999 –2000 ซึ่งหลังจากนั้นพบว่าค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นผลกระทบจากค่าเงินอาจมีมากกว่าผลกระทบจากอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ในครั้งนี้ ซึ่งจะกดดันให้ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนด้านค่าเงิน ด้วยเหตุนี้นักลงทุนควรชะลอการลงทุนในตราสารหนี้เอเชีย จนกระทั่งส่วนต่างอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้จะอยู่สูงกว่าระดับค่าเฉลี่ย และความเสี่ยงด้านการผิดนัดชำระหนี้ลดลง ประกอบกับค่าเงินเอเชียเทียบกับดอลลาร์จะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยในอดีต
Announcement on 22 January 2024