หลายคนอาจกำลังเจอกับภาระดอกเบี้ยที่สูงขึ้น หลังหมดช่วงโปรโมชันดอกเบี้ยต่ำใน 3 ปีแรก ทำให้ค่างวดรายเดือนเพิ่มขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ขณะที่ค่าครองชีพ และค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อาจถึงเวลาที่ต้องมองหาทางเลือกในการลดภาระหนี้สิน และปรับโครงสร้างการเงินให้เหมาะสม ซึ่งหนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยม คือ การรีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงิน ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเป็นดอกเบี้ยคงที่ ลดค่างวดรายเดือน และขยายระยะเวลาผ่อนชำระให้เหมาะสมกับสภาพการเงินปัจจุบัน
รีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงิน คืออะไร?
รีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงิน คือ การขอสินเชื่อใหม่กับสถาบันการเงินเพื่อนำไปชำระหนี้บ้านเดิม พร้อมขอวงเงินเพิ่มเติมจากมูลค่าบ้านที่เพิ่มขึ้น เพื่อใช้เป็นเงินสดสำหรับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ปรับปรุงบ้าน ลงทุน หรือสำรองเงินฉุกเฉิน ซึ่งจะช่วยให้ผู้กู้สามารถเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเป็นดอกเบี้ยคงที่ได้
ขั้นตอนการขอรีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงิน มีอะไรบ้าง ?
1. ตรวจสอบคุณสมบัติและเงื่อนไขของธนาคาร
การตรวจสอบคุณสมบัติ และเงื่อนไขของธนาคารก่อนดำเนินการเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากแต่ละธนาคารมีเกณฑ์การพิจารณา และข้อกำหนดที่แตกต่างกันในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อให้กับผู้กู้
2. เปรียบเทียบข้อเสนอของแต่ละธนาคาร
การเปรียบเทียบข้อเสนอสินเชื่อจากแต่ละธนาคารเป็นขั้นตอนสำคัญก่อน รีไฟแนนซ์บ้านหรือย้ายสินเชื่อไปธนาคารใหม่ เพื่อให้ได้เงื่อนไขที่คุ้มค่าที่สุด ควรดูรายละเอียด และข้อเสนอสำคัญของแต่ละธนาคารก่อนทำการตัดสินใจ
3. เตรียมเอกสาร
การรีไฟแนนซ์เพิ่มวงเงินช่วยลดภาระดอกเบี้ย และเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน แต่ก่อนยื่นขอสินเชื่อ ผู้กู้ต้องเตรียมเอกสารให้ครบถ้วนเพื่อให้การอนุมัติเป็นไปอย่างราบรื่น
4. ยื่นเอกสารกับธนาคาร
เมื่อเตรียมเอกสารครบถ้วนแล้ว สามารถยื่นคำขอรีไฟแนนซ์บ้านกู้เพิ่มกับธนาคารที่ต้องการ ธนาคารจะตรวจสอบเครดิตบูโรของผู้กู้ โดยอาจใช้เวลาประมาณ 7-30 วัน (ไม่รวมวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์)
5. ธนาคารประเมินหลักทรัพย์
ทางธนาคารจะส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ และประเมินราคาทรัพย์สิน เช่น บ้านหรือคอนโด ตามมาตรฐานที่กำหนด กระบวนการนี้ใช้เวลาประมาณ 3-7 วันทำการ (ไม่รวมวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ขึ้นอยู่กับสถานที่ตั้ง และประเภทของหลักประกัน
6. รอธนาคารแจ้งผลการอนุมัติ
การพิจารณาอนุมัติสินเชื่อเป็นกระบวนการสำคัญที่ส่งผลต่อวงเงินที่ผู้กู้จะได้รับ ธนาคารจะวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินของผู้กู้ โดยใช้เวลาประมาณ 7-30 วันทำการ (ไม่รวมวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ในการแจ้งผลอนุมัติสินเชื่อ
ข้อดีของการรีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงิน
สำหรับผู้ที่ต้องการลดภาระดอกเบี้ย และเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน การรีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงิน ยังเป็นทางออกที่ช่วยให้คุณสามารถปรับโครงสร้างหนี้ได้ง่าย และยังมีข้อดีอีกหลายส่วน ดังนี้
1. ดอกเบี้ยถูกลง
การได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงกว่าสินเชื่อเดิม ซึ่งช่วยให้เจ้าของบ้านสามารถลดภาระดอกเบี้ย และผ่อนชำระรายเดือนได้สบายขึ้น
2. วงเงินกู้สูงขึ้น
การรีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงินถือเป็นโอกาสให้ผู้กู้ สามารถเข้าถึงวงเงินสินเชื่อที่สูงขึ้นได้ง่าย และยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในหลายด้าน
3. เพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน
ผู้กู้สามารถขอวงเงินเพิ่มเติมเพื่อนำไปใช้จ่ายตามความต้องการ เช่น ต่อเติม ตกแต่งบ้าน ซื้อเฟอร์นิเจอร์ หรือชำระหนี้สินเดิม ซึ่งช่วยเพิ่มสภาพคล่องในการบริหารเงินได้อย่างดี
4. ขยายระยะเวลาผ่อน
การรีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงิน ช่วยให้สามารถขยายระยะเวลาผ่อนชำระได้นานขึ้น สูงสุด 35 ปี (รวมอายุผู้กู้ไม่เกิน 65 ปี) ซึ่งส่งผลให้ค่างวดต่อเดือนลดลง ทำให้สามารถบริหารเงินได้ง่ายขึ้น และเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดภาระรายเดือน
ตัวอย่าง ตารางการขยายระยะเวลาผ่อนชำระและค่างวด
ระยะเวลาผ่อนชำระ |
ค่างวดต่อเดือน (บาท) |
ดอกเบี้ยจ่ายทั้งหมด (บาท) |
20 ปี |
7,800 |
602,224 |
25 ปี |
7,100 |
734,108 |
30 ปี |
6,700 |
842,373 |
40 ปี |
6,200 |
1,041,452 |
รีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงิน ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ?
แม้ว่าการรีไฟแนนซ์บ้านจะช่วยลดภาระดอกเบี้ย และเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน แต่ก็มีค่าใช้จ่ายที่ต้องพิจารณาก่อนดำเนินการ ผู้กู้ควรตรวจสอบค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ดังนั้น ก่อนดำเนินการ รีไฟแนนซ์บ้านควรศึกษารายละเอียดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องให้รอบคอบ เพื่อประเมินความคุ้มค่าของสินเชื่อใหม่ ค่าใช้จ่ายหลักที่ต้องพิจารณามีดังนี้
1. ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์
ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเมื่อยื่นขอ รีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงิน โดยธนาคารจะส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ และกำหนดมูลค่าของทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกัน
2. ค่าธรรมเนียมการไถ่ถอนจำนองเดิม
เมื่อต้องการรีไฟแนนซ์บ้าน ผู้กู้จำเป็นต้องปิดบัญชีสินเชื่อเดิมกับธนาคาร ซึ่งอาจมี ค่าธรรมเนียมการไถ่ถอนจำนองเดิม หากดำเนินการก่อนครบกำหนดตามเงื่อนไขของธนาคาร
3. ค่าจดจำนอง
ค่าจดจำนองเป็นค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายให้กรมที่ดินเมื่อลงทะเบียนจำนองทรัพย์สิน เพื่อใช้เป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อหรือรีไฟแนนซ์บ้าน โดยปกติจะคิดเป็น 1% ของวงเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติ
4. ค่าอากรแสตมป์
ค่าอากรแสตมป์ เป็นค่าธรรมเนียมที่ผู้กู้ต้องชำระให้รัฐบาลเมื่อลงนามในสัญญาสินเชื่อ โดยคิดเป็น 0.05% ของวงเงินสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติ
5. ค่าประกันอัคคีภัย
ค่าประกันอัคคีภัย เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการทำประกันที่อยู่อาศัย เพื่อคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจาก ไฟไหม้ ฟ้าผ่า หรือภัยอื่น ๆ ตามที่ระบุในกรมธรรม์ โดยถือเป็นเงื่อนไขสำคัญของสินเชื่อบ้านที่ธนาคารกำหนดให้ผู้กู้ต้องทำประกัน
6. ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
นอกจากค่าธรรมเนียมหลักทั้ง 5 ข้อ การรีไฟแนนซ์บ้านขอวงเงินเพิ่ม อาจมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ผู้กู้ต้องคำนึงถึงเพื่อให้สามารถประเมินต้นทุนที่แท้จริงของการขอสินเชื่อใหม่ได้อย่างครบถ้วนเพิ่มเติม เช่น ค่าธรรมเนียมการดำเนินการสินเชื่อ ค่าธรรมเนียมเอกสารและบริการอื่น ๆ เป็นต้น
คนส่วนใหญ่รีไฟแนนซ์บ้านขอวงเงินเพิ่มเพื่ออะไร?
หลายคนมองหาทางเลือกในการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อลดภาระดอกเบี้ย และเพิ่มสภาพคล่อง ในวันที่เจอปัญหา หรืออยากปรับโครงสร้างหนี้เพื่อหลีกเลี่ยงอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว การรีไฟแนนซ์บ้าน จึงเป็นหนึ่งในวิธีที่ใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ที่มีอยู่ได้อย่างคุ้มค่า โดยส่วนใหญ่จะใช้ในกรณีต่อไปนี้
1.ปรับปรุง / ต่อเติมบ้าน
การปรับปรุงหรือ ต่อเติมบ้าน เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเจ้าของบ้านที่ต้องการเพิ่มความสะดวกสบาย ปรับฟังก์ชันให้ตรงกับความต้องการ หรือเพิ่มมูลค่าทรัพย์สินในระยะยาว การรีไฟแนนซ์บ้านขอวงเงินเพิ่ม เป็นทางเลือกที่ช่วยให้สามารถดำเนินการปรับปรุงบ้านได้โดยไม่ต้องพึ่งพาสินเชื่อดอกเบี้ยสูง เช่น บัตรเครดิตหรือสินเชื่อบุคคล ซึ่งมีดอกเบี้ยแพงกว่า
2.ปิดหนี้บัตรเครดิต
หนี้บัตรเครดิตเป็นภาระที่หลายคนต้องเผชิญ โดยเฉพาะเมื่อดอกเบี้ยสูง และยอดหนี้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การนำสินเชื่อบ้านมาใช้เพื่อปิดภาระหนี้บัตรเครดิต จึงเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่จะช่วยให้สามารถควบคุมการเงินได้ดีขึ้น โดยข้อดีของวิธีนี้จะทำให้คุณได้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า เมื่อเทียบกับบัตรเครดิตที่มีดอกเบี้ยสูงถึง 16-20% ต่อปี ในขณะที่สินเชื่อบ้านมักมีดอกเบี้ยที่ต่ำกว่ามาก
3.เป็นทุนการศึกษา
การศึกษาเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนระยะยาว แต่ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาสูงขึ้นทุกปี ทำให้หลายครอบครัวต้องมองหาทางเลือกในการบริหารเงินเพื่อให้ลูกหลานได้รับโอกาสที่ดีที่สุด แทนที่จะใช้สินเชื่อดอกเบี้ยสูง หรือกดเงินสดจากบัตรเครดิต การใช้สินเชื่อบ้านเพื่อสนับสนุนค่าเล่าเรียนจึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
4.ลงทุนในธุรกิจ
การเริ่มต้นหรือขยายธุรกิจต้องอาศัยเงินทุน แต่การขอสินเชื่อเพื่อธุรกิจมักมีอัตราดอกเบี้ยสูง และอาจมีข้อจำกัดในการอนุมัติ สำหรับผู้กู้ที่ต้องการเงินทุน การใช้สินเชื่อบ้านเป็นแหล่งเงินทุนเพื่อการลงทุน ถือเป็นต้นทุนทางการเงินที่ต่ำกว่า เป็นข้อได้เปรียบหลักเมื่อเทียบกับสินเชื่อธุรกิจทั่วไปหรือสินเชื่อระยะสั้น
5.เหตุฉุกเฉิน
เหตุการณ์ไม่คาดคิดสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาลฉุกเฉิน การซ่อมแซมบ้านหลังเกิดอุบัติเหตุ หรือภาวะเศรษฐกิจที่กระทบต่อรายได้ การใช้สินเชื่อบ้านเป็นแหล่งเงินทุนสำรอง ข้อดีหลัก คือ อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับสินเชื่อเร่งด่วนประเภทอื่น เช่น บัตรกดเงินสดหรือสินเชื่อส่วนบุคคล ทำให้ภาระค่าใช้จ่ายไม่เพิ่มขึ้นมากเกินไป นอกจากนี้ การปรับแผนการผ่อนชำระให้สอดคล้องกับรายรับ ยังช่วยให้สามารถจัดการภาระหนี้ได้โดยไม่กระทบต่อค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันอีกด้วย
รีไฟแนนซ์บ้านธนาคารเดิมเพิ่มวงเงิน
สำหรับผู้ที่ต้องการปรับโครงสร้างหนี้ การรีไฟแนนซ์บ้านธนาคารเดิมเพิ่มวงเงินเป็นทางเลือกที่ช่วยลดขั้นตอน ลดภาระค่าใช้จ่าย และได้รับเงื่อนไขที่คุ้มค่าโดยไม่ต้องย้ายไปสถาบันการเงินใหม่ การดำเนินการกับธนาคารเดิมช่วยให้กระบวนการอนุมัติรวดเร็วขึ้น ลดความยุ่งยากเรื่องเอกสาร และยังสามารถขอวงเงินเพิ่มเพื่อนำไปใช้ตามความต้องการ
ตัวอย่างการรีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงิน
หนึ่งในข้อได้เปรียบของการรีไฟแนนซ์เพิ่มวงเงินกับ LH Bank คุณจะได้รับวงเงินอนุมัติสูงสุด 100% ของภาระหนี้คงเหลือจากธนาคารเดิม แต่ไม่เกินราคาประเมินหลักประกัน
ซึ่งหมายความว่าหากคุณมีสินเชื่อบ้านคงเหลือ 1,000,000 บาท และต้องการเงินเพิ่มอีก 500,000 บาท สำหรับต่อเติมบ้าน คุณสามารถขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์รวมเป็น 1,500,000 บาทได้ (ขึ้นอยู่กับการประเมินมูลค่าหลักทรัพย์)
การรีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงินจึงเป็นทางเลือก ที่ช่วยให้เจ้าของบ้านสามารถลดภาระดอกเบี้ย ปรับโครงสร้างหนี้ และเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการขอวงเงินเพิ่มเพื่อต่อเติมบ้าน ลงทุนธุรกิจ รวมหนี้บัตรเครดิต หรือใช้จ่ายในเหตุฉุกเฉิน การเลือกเงื่อนไขที่เหมาะสม เช่น ดอกเบี้ยต่ำลง ระยะเวลาผ่อนชำระยืดหยุ่น ล้วนช่วยให้การบริหารหนี้เป็นไปอย่างคล่องตัวมากขึ้น
สำหรับผู้ที่ผ่อนบ้านครบ 3 ปีและต้องการลดภาระดอกเบี้ย LH Bank มีทางเลือกสินเชื่อรีไฟแนนซ์ที่ช่วยให้คุณผ่อนบ้านได้อย่างสบายขึ้น พร้อมเงื่อนไขที่ตอบโจทย์ความต้องการ
- ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 35 ปี (รวมอายุผู้กู้ไม่เกิน 65 ปี)
- อนุมัติวงเงินสูงสุด 100% ของภาระหนี้คงเหลือจากสถาบันการเงินเดิม แต่ไม่เกินราคาประเมินหลักประกัน*
- อัตราดอกเบี้ยต่ำลง ลดภาระค่างวดรายเดือน พร้อมชำระมากกว่าค่างวดได้โดยไม่มีค่าปรับ**
LH Bank เราไม่เพียงแต่ให้บริการสินเชื่อ เราพร้อมเป็นที่ปรึกษาด้านการเงินสำหรับผู้ที่ต้องการ ปรับโครงสร้างหนี้ ลดภาระการผ่อน หรือรวมหนี้เพื่อลดดอกเบี้ยโดยทีมที่ปรึกษาพร้อมช่วยคุณวางแผนทางการเงิน เพื่อให้คุณสามารถจัดการภาระหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมั่นใจทุกการตัดสินใจ
สอบถามรายละเอียดสินเชื่อบ้านเพิ่มเติมได้ที่
ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ทุกสาขา
เว็บไซต์:
www.lhbank.co.th/th/personal/loans/
LH Bank Call Center: 1327
Facebook:
LH Bank
* หลักเกณฑ์และเงื่อนไขต่าง ๆ เป็นไปตามประกาศและระเบียบที่ธนาคารกำหนด
**กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว