2025 Europe’s Trumpian nightmare, or not? ผลการประชุมนโยบายครั้งสุดท้ายของปี 2024 ของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยกู้ยืม (Main refinancing operations) ครั้งที่สี่ของปีลง 0.25% มาที่ระดับ 3.15% จาก 3.4% ทำให้ ดอกเบี้ยเงินฝาก (Euro Area Deposit Facility Rate) เหลือ 3% จาก 3.25% ขณะเดียวกันนั้นนักลงทุนคาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก อีก 5 จุดในปีหน้า ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากลดลงเหลือ 1.75% สู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2023 ทั้งนี้ทาง LH Bank Advisory มองว่าสาเหตุที่ตลาดให้แนวทางการดำเนินนโยบายของ ECB มีความผ่อนคลายกว่าฝั่งธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เกิดขึ้นหลังโดนัลด์ ทรัมป์ชนะการเลือกตั้งใหญ่ในปีนี้ ซึ่งมาจากนโยบายของทรัมป์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นและส่งผลต่อยุโรป ดังนี้
จากปัจจัยความเสี่ยงหลังจากชัยชนะในการเลือกตั้งของ โดนัลด์ ทรัมป์ และประเด็นภาษีการค้า ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของยูโรโซน โดยสะท้อนไปยังดัชนีความเชื่อมั่นผู้ผลิต (PMI) ที่อยู่ในทิศทางฟื้นตัวไปเหนือ 50 จุด ให้พลิกกลับลงมา เป็นเหตุให้ทางเราประเมินต่อว่ามีโอกาสที่เห็นการปรับลดการคาดการณ์ GDP ของยูโรโซน ขณะที่ยังมีความเป็นไปได้ที่ยูโรโซนบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2.% ในปี 2025 ถึง 2027 หากประเด็นภูมิรัฐศาสตร์ไม่ได้ขยายความรุนแรงตามที่เราคาด ในทางเดียวกันปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรปที่เพิ่มขึ้นในการใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือราคาพลังงานแก่ประชาชนและนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้หลายประเทศก่อหนี้เพิ่มสูงขึ้น อย่าง ฝรั่งเศส ที่ Debt/GDP แตะ 112.2% จนรัฐสภาลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลและนายกต้องออกจากตำแหน่ง หลังเสนอร่างงบประมาณปี 2025 ลดการขาดดุลงบประมาณ ขณะที่เยอรมัน Debt/GDP เกินเพดานที่ 60 มาที่ 61.9 พร้อมมีการเสนอกฎรัฐธรรมนูญที่จำกัดการกู้ยืมของรัฐบาล ด้วยเหตุนี้นโยบายการคลังจากกลุ่มยูโรโซนอาจจะถูกใช้อย่างจำกัดในปีหน้า จนทำให้ ECB มีโอกาสใช้การปรับลดดอกเบี้ยเร็วและมากกว่า Fed รับมือกับทรัมป์สมัยที่ 2 ทำให้ค่าเงินยูโรในปีหน้ามีทิศทางอ่อนค่าลง ส่งผลต่อตลาดหุ้นยุโรปมีโอกาสฟื้นตัวจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่คาดการณ์ไว้ ทางเราแนะนำใช้เป็นจังหวะแบ่งขายทำกำไร ด้วยพื้นฐานเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวล่าช้ากว่าที่ตลาดเคยประเมินไว้
เศรษฐกิจจีนกำลังส่งสัญญาณฟื้นตัวจาก L-Curve ผ่านการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจีน จากการประกาศตัวเลขอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน พ.ย. เพิ่มขึ้นเพียง 0.2%YoY ซึ่งต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2024 และลดลง 0.6%MoM ต่ำกว่าคาด ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน เพิ่มขึ้น 0.2%YoY โดยฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือน ก.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งทางเราประเมินว่าจีนกำลังฟื้นตัวออกจากความเสี่ยงภาวะเงินฝืดด้วยปัจจัยดังต่อไปนี้ อัตราเงินเฟ้อจากเชื้อเพลงยานยนต์ (Automotive Fuels) ที่หดตัวลง ไม่ได้เป็นแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อในระยะยาว โดยในเดือนพ.ย. หดตัวลง 8.1%YoY ซึ่งควรทราบว่าขณะนี้จีนขึ้นแท่นผู้นำด้านพลังงานสะอาด จากนโยบายกระตุ้นการผลิตรถยนต์ EV ส่งผลให้ในเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา จีนมีเครื่องชาร์จ EV เพิ่มขึ้น 54%YoY อีกทั้งจีนได้นำเข้าเชื้อเพลิงราคาถูกจากรัสเซีย จึงประเมินว่าราคาเชื้อเพลิงที่ชะลอตัวลงไม่ได้เป็นปัจจัยสำคัญในการกดดันอัตราเงินเฟ้อในอนาคต แต่กลับช่วยหนุนต้นทุนสำหรับบริษัทจดทะเบียน ตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยอัตตราเงินเฟ้อจากที่อยู่อาศัย (Housing) เดือน พ.ย. หดตัว 0.1%YoY ที่ชะลอตัวลง อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาจากยอดขายบ้านใหม่ของจีนเดือน ต.ค. เพิ่มขึ้น 7.1%YoY นับเป็นครั้งแรกในรอบ 16 เดือน ซึ่งได้รับแรงหนุนจากนโยบายของรัฐบาลจีน ที่ลดค่าใช้จ่ายการกู้ยืมสินเชื่อที่อยู่อาศัย และผ่อนปรนข้อจำกัดในการซื้อที่อยู่อาศัยในเมืองใหญ่ รวมถึงลดข้อกำหนดการชำระเงินดาวน์ลง ส่งผลให้มีการซื้อที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ซึ่งข้อมูลจาก China Index Academy ราคาที่อยู่อาศัยเฉลี่ยใน 100 เมือง เดือน ต.ค. ขยับขึ้น 2.08%YoY เมื่อเทียบกับ 1.85%YoY ในเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตามยอดขายบ้านที่เพิ่มขึ้นอาจเป็นเพียงผลจากความความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นจากการผ่อนคลายนโยบาย ทำให้ประชาชนที่มีเงินเก็บเข้ามาซื้อที่อยู่อาศัย แต่ความต้องการที่แท้จริงอาจไม่ได้ยั่งยืน เนื่องจาก Sentiment ของผู้บริโภคยังไม่ฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด สังเกตุจากสินเชื่อที่อยู่อาศัยในเดือน ต.ค. ลดลง 160 พันล้านหยวน จาก 500 พันล้านหยวน ในเดือนที่ผ่านมา จึงยังเป็นความเสี่ยงที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตามจากอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลง ช่วยตอกย้ำด้วยนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่ จากการประชุม Politburo และ China’s central economic work conference ที่ผ่านมา มีโทนเสียงของการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเชิงรุกมากขึ้น และพร้อมผ่อนคลายนโยบายการเงินในระดับปานกลางในปี 2025 เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ ทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์และตลาดหุ้นมีเสถียรภาพ สนับสนุนให้อัตราเงินเฟ้อจะเริ่มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป อีกทั้งอัตราผลตอบแทนพันธบัตร รัฐบาลจีน อายุ 10 ปี ลดลงอยู่ที่ระดับ 1.8% ซึ่งต่ำที่สุดในประวัติการณ์ เป็นแรงหนุนช่วยลดต้นทุนเงินทุนของบริษัทจดทะเบียน ด้วยเหตุนี้ทางเราจึงประเมินว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวจากความเสี่ยงอัตราเงินฝืดได้ และจะสามารถเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไปได้ แม้ว่าในปี 2024 GDP จีนจะเติบโตไม่ถึงเป้าหมายที่ 5% ก็ตาม ซึ่งตลาดได้ Price in ไปแล้ว ขณะที่การส่งออกของจีนเดือน ต.ค. เพิ่มขึ้น 6.7% YoY และเพิ่มขึ้น 8%YoY สำหรับการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ทางเราจึงเชื่อว่าสงครามการค้าจะช่วยกระตุ้นการส่งออกของจีนในระยะสั้น ประกอบกับทางเราเชื่อมั่นว่าในปี 2025 รัฐบาลจีนจะลงรายละเอียดการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มากขึ้น เป็นโอกาสสำหรับการเติบโตของตลาดหุ้นจีน ทางเราจึงแนะนำให้ทยอยสะสม
Year Ahead 2025 : Threats and Opportunities in Vietnam หลังจากตลาดหุ้นเวียดนามมีการพักฐานในเดือนที่ผ่านมา จากความกังวลแนวนโยบายของทรัมป์โดยเฉพาะสงครามการค้ารอบใหม่ สะท้อนผ่านค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ตามดัชนี VN Index สามารถกลับมายืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 200 วันได้ โดยมีปัจจัยหนุนจากพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ยังคงแข็งแกร่ง ซึ่งทาง LH Bank Advisory มีมุมมองต่อทิศทางและแนวโน้มเศรษฐกิจของเวียดนามในปี 2025 ดังนี้
ประกาศ ณ วันที่ 16 ธันวาคม 2567