Trigger Points for Recession ตลาดหุ้นทั่วโลกเข้าสู่โหมดปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) โดยนักลงทุนเทขายสินทรัพย์เสี่ยงเข้าสู่สินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางการแข็งค่าของเงินเยนอย่างมีนัยสำคัญ หลัง BoJ ปรับขึ้นดอกบี้ยสู่ระดับ 0.25% จนอาจเป็นจุดสิ้นสุดของการซื้อขายแบบ Carry Trade หรือการที่นักลงทุนกู้ยืมเงินในสกุลเงินที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำอย่างเงินเยน แล้วนำเงินที่ได้ไปลงทุนในสกุลเงินที่มีอัตราผลตอบแทนสูงกว่า ประกอบกับการเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานของสหรัฐที่ต่ำกว่าคาด ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อ้างอิงบทความ Arch Lumpini ฉบับที่ 22 ก.ค. 2024 หัวข้อ Delayed Recession ซึ่งทาง LH Bank Advisory ได้เห็นสัญญาณโอกาสที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยแบบไม่รุนแรง (Mild Recession) ได้ในปี 2025 ดังนี้
ทาง LH Bank Advisory ประเมินว่าการประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะข้อมูลตลาดแรงงานในระยะถัดไป จะส่งผลกระทบต่อความผันผวนในตลาดหุ้นโลกเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเมื่อพิจารณา Credit Spread ระหว่างหุ้นกู้อันดับเครดิต BBB กับพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ในปัจจุบันอยู่ที่ 1.36% ถือว่ายังอยู่ในระดับที่ไม่สูง เมื่อเทียบกับระดับ 7.84% ในช่วงวิกฤต Subprime ปี 2008 หรือ ระดับ 3.96% ในช่วง Covid-19 แต่เป็นอีกหนี่งปัจจัยที่ต้องจับตาเพื่อเป็นสัญญาณเตือนความเสี่ยงในการเข้าสู่ภาวะ Recession ได้ และแม้ว่าราคาหุ้นกลุ่ม Big Tech จะปรับตัวลงมา จนทำให้ Valuation อยู่ในระดับที่น่าสนใจ อย่างไรก็ตาม สำหรับในช่วงที่เหลือของปีนี้ ทางเราแนะนำลดสัดส่วนในหุ้นเติบโต และเน้นลงทุนในหุ้น Defensive เพื่อลดความผันผวนของพอร์ต
Semiconductor bubble may soon burst ตัวเลขทางเศรษฐกิจกำลังส่งสัญญาณเศรษฐกิจถดถอยที่ใกล้เข้ามา โดย Sahm Rule ได้ปะทุให้นักวิเคราะห์สายหมีทั้งหลาย เริ่มออกความเห็นไปในเชิงลบ ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเหตุให้นักลงทุนมองว่าเศรษฐกิจอาจจะเกิด Hard Landing จึงทำให้ตลาดคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed ในเดือน ก.ย. เพิ่มขึ้น ประจวบเหมาะกับ BoJ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบ Surprise ตลาด ส่งผลให้นักลงทุนบางกลุ่มที่ทำ JPY Carry Trade จำเป็นต้องถูกปิด Position และเงินไหลกลับเข้าญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามทาง BoJ มีท่าทีที่ผ่อนคลายลง โดยบอกว่าอาจจะไม่ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเวลาอันใกล้นี้ เป็นเหตุให้ตลาดหุ้นทั่วโลกฟื้นตัวขึ้น ซึ่งทางเราประเมินว่าเหตุการณ์นี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการความผันผวนของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีในสหรัฐฯ Unwind JPY Carry Trade จะเป็นชนวนในการจุดระเบิดของหุ้น AI และ Semiconductor ที่กำลังเติบโตในปัจจุบัน ซึ่งจาก Figure 3 บ่งชี้ว่าเงินจากการทำ Carry Trade ได้เข้าไปอยู่ในสินทรัพย์ต่างๆ ในสหรัฐฯ และบางส่วนได้เข้าไปลงทุนในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี เนื่องจากความต่างของอัตราดอกเบี้ย ที่สหรัฐฯ คงอัตราดอกเบี้ยสูงอย่างยาวนาน ประกอบกับ BoJ ดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบ จึงทำให้นักลงทุนเพิกเฉยต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ BoJ แม้ว่านายอุเอดะ ประธาน BoJ ก็ส่งสัญญาณว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อป้องกันอัตราเงินเฟ้อที่อยู่สูงกว่ากรอบเป้าหมายในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี Fed ถูกกดดันให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือน ก.ย. ที่จะถึงนี้ ส่งผลให้ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้น และยังไม่ตัดความเป็นไปได้ที่ BoJ อาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างฉับพลันอีก โดยทางโนมูระชี้ว่ายังมีเงินที่ทำ JPY Carry Trade อีกกว่า 40% - 50% ดังนั้นจึงมองว่าในอนาคตเม็ดเงินจาก JPY Carry Trade จะถูกดึงออกไปส่งผลให้สภาพคล่องของบริษัทเทคโนโลยีลดลง อีกทั้ง CHIPS for America Act ดูเหมือนจะสะดุดลง ซึ่งก่อนหน้านี้ด้วย Bidenomic ที่ออกมาเพื่อเป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรมSemiconductor และดึงดูดให้เกิดการลงทุนก่อสร้างโรงงานใหม่ๆ ในสหรัฐฯ ซึ่งได้จัดสรรงบประมาณกว่า 52,700 ล้านดอลลาร์ และสิทธิ์ลดหย่อนภาษี 25% สำหรับบริษัทที่ลงทุนในโรงงานผลิตชิปในสหรัฐฯ และกำหนดให้เพิ่มงบในโครงการวิจัยเป็นเงินราว 200,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งหากการเลือกตั้งที่จะมาถึง ได้เปลี่ยนรัฐบาลใหม่เป็นพรรครีพับลิกัน อาจจะยกเลิกนโยบายเดิมๆ ที่เคยทำไว้ ประกอบกับคาดการณ์ผลประกอบการของบริษัทกลุ่มเทคโนโลยีจะเติบโตในอัตราที่ลดลงอยู่แล้ว ดังนั้นจึงประเมินว่าสายป่านของบริษัทที่ทำเกี่ยวกับ Semiconductor จะสะดุดลง กดดันราคาหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ด้วยเหตุนี้เมื่อสายป่านหลักของกลุ่ม Semiconductor เริ่มขาดช่วงลง ประกอบกับสัญญาณเศรษฐกิจถดถอยที่ใกล้เข้ามาอาจนำไปสู่การหดตัวของอุปสงค์ กดดันผลประกอบการ ซึ่งนำไปสู่งการปรับตัวลงของหุ้นกลุ่ม Semiconductor อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาจา Supply Chain พบว่ากระทบกับการจ้างงาน และกระทบต่อการเติบโตของสหรัฐฯ ค่อนข้างจำกัด จึงแนะนำให้เข้าลงทุนในหุ้นกลุ่ม Defensive เนื่องจากเป็นกลุ่มที่สามารถสร้างรายได้ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และแนะนำสะสมทองคำเพื่อรับมือกับความผันผวนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ประกาศ ณ วันที่ 12 สิงหาคม 2567