Risks and Rewards in Chinese Market จาก Sentiment โดยรวมของตลาดหุ้นจีนและฮ่องกงที่ดีขึ้นสะท้อนผ่านตัวเลขทางเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นจีนและฮ่องกงปรับตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งตั้งแต่เดือนก.พ. – พ.ค. ของปีนี้ อย่างไรก็ตาม ดัชนี CSI 300 ที่สะท้อนภาพรวมตลาดหุ้นจีนและดัชนี Hang Seng ที่สะท้อนภาพรวมตลาดหุ้นฮ่องกงได้ปรับลดลง 7% และ 12% ตามลำดับจากจุดสูงสุดในเดือนพ.ค. ซึ่งทาง LH Bank Advisory ประเมินว่ายังมีปัจจัยเสี่ยงและความท้าทายที่อาจกดดันต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาว ดังนี้
ทาง LH Bank Advisory ประเมินว่าหลังจากที่ตลาดหุ้นจีนปรับตัวขึ้นจากปัจจัยพื้นฐานที่ยังคงอ่อนแอ ส่งผลให้นักวิเคราะห์ในตลาดทยอยปรับลดคาดการณ์กำไร (Forward EPS) ลง และเมื่อพิจารณา Fund Flow ของนักลงทุนต่างชาติและฮ่องกงที่เข้ามาซื้อขายในตลาดหุ้น A-Shares (Northbound Trading) หลังจากที่มียอดซื้อสุทธิต่อเนื่อง 5 เดือนติดต่อกัน Fund Flow เริ่มไหลออกตั้งแต่เดือนมิ.ย. ส่งผลให้อัตราส่วนผลตอบแทนต่อความเสี่ยง (Risk/Reward Ratio) ในตลาดหุ้นจีนลดลง อย่างไรก็ตาม นักลงทุนจีนที่เข้ามาซื้อขายในตลาดหุ้น H-Shares (Southbound Trading) ยังมียอดซื้อสุทธิต่อเนื่อง จึงประเมินว่าในระยะสั้น ตลาดหุ้นฮ่องกงยังมี Momentum ปรับตัวขึ้นต่อได้จาก Valuation ที่อยู่ในระดับต่ำมาก ซึ่งต้องติดตามการประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์ ระหว่างวันที่ 15-18 ก.ค. 2024 นี้ ว่าจะมีการกำหนดมาตรการหรือการปฏิรูปนโยบายที่เป็นรูปธรรมและในปริมาณที่มากพอต่อการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาว เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเติบโตของ GDP ทั้งปีในปี 2024 ที่ 5% ได้หรือไม่
Is it time to take some US gains and rebalance into the EM Asia (Part II) สืบเนื่องจากสัปดาห์ก่อนที่ทาง LH Bank Advisory เห็นโอกาสการลงทุนใน EM Asia จาก 1. อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจที่โดดเด่น 2. การมีเสถียรภาพของค่าเงินสกุลท้องถิ่น จนเกิดความผ่อนคลายของกระแสเงินทุนไหลออก และ 3. มูลค่าของตลาด EM Asia ที่น่าสนใจ ทั้งนี้ภาพทิศทางการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ EM Asia มีความชัดเจนมากขึ้นจากรายงานประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ปี 2024-2029 ของ IMF พบว่า สหรัฐฯ มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่อัตรา 1-2% ต่อปี กลุ่มประเทศ G7 เติบโตเฉลี่ย 1.6-1.7% ขณะที่ EM Asia เฉลี่ยที่ 4-5% ซึ่งถือว่าเหนือกว่าประเทศพัฒนาแล้วอื่น ๆ รวมถึง สหรัฐฯ การเติบโตที่โดดเด่นของ EM Asia มีปัจจัยสนับสนุนของจากฟื้นตัวการผลิตโลก บ่งชี้จากรายงานดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตโลก (Global Manufacturing PMI) เดือนพ.ค. อยู่ที่ 50.9 สูงสุดตั้งแต่ ก.ค. 2022 สะท้อนความเชื่อมั่นของธุรกิจที่ขยายตัว ทั้งนี้ทางเรามองประเด็นที่ขับเคลื่อน PMI จากฝั่งเอเชีย โดยเฉพาะ อินเดีย เกาหลีใต้ และไต้หวัน ซึ่งเป็นประเทศที่มีการส่งออกของสินค้าเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง AI และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่สงครามการค้าของสหรัฐฯ และยุโรป กับจีน เป็นประเด็นที่สะท้อนถึงกระแสการค้าโลกที่เปลี่ยนไปในยุคหลังจากนี้ (New Normal) ทำให้บริษัทฯ จำเป็นต้องกระจายโรงงานผลิตสินค้ามายัง EM Asia ที่มีศักยภาพในการผลิตสินค้าที่ใกล้เคียงกับการผลิตที่จีน และประเทศเหล่านี้ทำสัญญาการค้าที่เอื้อต่อการส่งสินค้าขายกับประเทศพัฒนาแล้วอื่น ๆ ในโลก ทั้งในรูปแบบ FTA และทวิภาคี ในทางตรงกันข้ามสหรัฐฯ รายงานดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต ปรับตัวลงสู่ 48.5 เข้าสู่โซนหดตัว (ต่ำกว่า 50) มา 3 เดือนติดต่อกัน ขณะที่ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคบริการอยู่ที่ 48.8 เข้าสู่โซนหดตัวครั้งแรกในรอบ 13 เดือน ทำให้ทางเราเห็นความเสี่ยงที่มากขึ้นและกดดันการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในระยะถัดไป เพราะที่ผ่านมาสหรัฐฯ พึ่งพากิจกรรมฝั่งบริการเป็นหลักนั้น กำลังส่งสัญญาณอ่อนแอลง ดังนั้นแม้ตลาดจะปรับประมาณการกำไรสูงขึ้นทั้งของประเทศพัฒนาแล้ว และ ตลาด EM Asia แต่เมื่อเปรียบเทียบมูลค่าของตลาด พบว่า ตลาด EM Asia มีมูลค่าน่าสนใจลงทุน ตาม Figure 4 และจากภาคบริการที่อ่อนแอลงทำให้ความน่าจะเป็นของการปรับลดดอกเบี้ยหนึ่งครั้งในปีนี้มากขึ้น เอื้อให้ค่าเงินสกุลท้องถิ่นมีเสถียรภาพมากขึ้น กองทุนแนะนำ UOBSA หรือ กองทุนเปิด ยูโอบี สมาร์ท เอเชีย เป็นกองทุนหุ้น Asia ex Japan ลงทุนในกองทุนหลัก United Asia Fund บริหารแบบเชิงรุก (Active) โดยมีการทำงานร่วมกับ AI และนักวิเคราะห์ ซึ่ง AI ช่วยคัดเลือกหุ้นจากทั้งหมดหลายหมื่นตัว เหลือ 50 บริษัทให้ทางนักวิเคราะห์ศึกษาเชิงลึก ทั้งนี้ความโดดเด่นพิจารณาจาก 3 ปัจจัยหลัก ๆ คือ ปัจจัยพื้นฐาน, ปัจจัยเศรษฐกิจมหภาค และ ปัจจัย Technical จุดเด่นของกองทุน UOBSA อย่างแรกคือมีกระจายการลงทุนในกลุ่ม EM Asia โดยแบ่งไปที่ อินเดีย กับไต้หวัน และ จีนมาเป็นอันดับที่ 3 จึงทำให้ได้รับอานิสงส์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่โดดเด่นของ EM Asia พร้อมกับลดการพึ่งพาจีนประเทศเดียว จุดเด่นที่ 2 กลยุทธ์การลงทุนที่มุ่งหวังผลตอบแทนที่ชนะตลาด ทำให้สามารถเลือกได้ทั้งหุ้นเติบโต หรือหุ้นมูลค่าได้ จุดเด่นที่ 3 ผลตอบแทนกองทุนรายปีชนะดัชนีชี้วัด MSCI Asia ex. Japan ยาวนานมาตลอด 5 ปี และจุดเด่นสุดท้ายนโยบายบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นตามดุลยพินิจ ส่งผลให้ในเวลานี้มีโอกาสได้รับผลตอบแทนมากขึ้น เนื่องจากช่วงเวลานี้ที่ทิศทางของค่าเงินบาทเทียบกับเงินดอลลาร์ยังคงอ่อนค่า และค่าใช้จ่ายของต้นทุน hedging ที่สูง
Fed cut rate, U.S. REITs will not soar during the rest of year ภายใต้ความคาดหวังในการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ Fed ในปีนี้ ซึ่งแตกต่างจากช่วงต้นปี ที่อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลง แม้จะอยู่สูงกว่ากรอบเป้าหมายของ Fed และ GDP ที่ขยายตัวได้เพียงเล็กน้อย ส่งผลให้ Fed อาจกลับมาพิจารณาการลดอัตราดอกเบี้ยได้ เป็นเหตุให้กลุ่มอสังหาริมทรัพย์เริ่มฟื้นตัว ในช่วง 2Q24 ที่ได้รับแรงหนุน จากกลุ่ม Data Centers, กลุ่มที่พักอาศัย, และกลุ่ม Healthcare อย่างไรก็ตามจาก Figure 6.2 เมื่อพิจารณา Valuation จาก Price-to-FFO อยู่ในระดับ 16.2 เท่า ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 20 ปีเพียงเล็กน้อย ที่ 16.5 เท่า บ่งชี้ว่ากลุ่ม U.S. REITs อยู่ในราคาที่เหมาะสม จึงประเมินว่า U.S. REITs ยังไม่น่าสนใจในช่วงที่เหลือของปี 2024 ประกอบกับอัตราการเข้าพัก (Occupancy Rate) ที่ชะลอลง จาก 93.4% ในช่วง 4Q23 เหลือ 93.1% ในช่วง 1Q24 ซึ่งถูกแรงกดดันจากกลุ่ม Office และกลุ่ม Industrial ที่ลดลงจาก New Normal ที่ส่งผลให้พฤติกรรมของประชาชนสหรัฐฯ ที่มีการ WFH กันมากขึ้น อีกทั้งการชะลอตัวลงของการซื้อของออนไลน์ หันกลับไปหาเลือกซื้อของกันมากขึ้น จึงเห็นภาพของอัตราเข้าพักของกลุ่ม Retail ที่เพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2004 ด้วยเหตุนี้ทางเราจึงประเมินว่าด้วยอัตราเข้าพักที่เริ่มชะลอตัวลงจะส่งผลให้ค่าเช่าชะลอลงได้ แม้ว่า Dividend Yield ของ FTSE Nareit All REITs จะเพิ่มขึ้น สู่ระดับ 4.4% ในเดือน พ.ค. แต่สูงกว่า U.S. Treasury 10 Year เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เมื่อเทียบราย Sector จะเห็นได้ว่าในกลุ่ม Retail และกลุ่ม Healthcare ที่มี Dividend Yield อยู่ในระดับ 5.23% และ 4.66% ตามลำดับ ส่งผลให้การลงทุนในกลุ่ม REITs ยังไม่น่าสนใจมากนักในช่วงนี้ อีกทั้งเมื่อพิจารณาจาก Cap Rate ที่ลงลดตัวลงเมื่อเทียบในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา บ่งชี้การสร้างรายได้จากการดำเนินงานที่ชะลอตัวลง โดยเมื่อพิจารณาจากกลุ่ม Data Center ที่มีการสร้างรายได้ลดลงอย่างต่อเนื่องโดยลดลงเหลือเพียง 4.9% จาก 9.9% ในปี 2014 อีกทั้ง Dividend Yield อยู่ในระดับต่ำเพียง 2.8% ดังนั้นจึงประเมินว่าผลประกอบการของ U.S. REITs จะมีแนวโน้มชะลอลงในช่วงที่เหลือของปี ประกอบกับทางเรามองว่า Fed อาจชะลอการลดอัตราดอกเบี้ยไปในช่วง 4Q24 ทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนใน US REITs ยังไม่น่าสนใจเมื่อเทียบกับการลงทุนในพันธบัตรสหรัฐฯ หรือแม้กระทั่งมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในอนาคตก็ตาม พบว่าสัดส่วนสำคัญของ GDP คือกลุ่ม Consumption ที่มีน้ำหนักราวๆ 67% โดยได้รับแรงหนุนจากกลุ่ม Service เกี่ยวกับ Housing and Utilities ซึ่งหาก Fed ปรับลดอัตราดอกเบี้ยแล้ว ค่าเช่าที่อยู่อาศัยจะชะลอตัวลง เนื่องจากพฤติกรรมจะหันไปกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยมากขึ้น เมื่อพิจารณาจากกำลังการเช่าพบว่าตัวเลขตำแหน่งงานว่างเปิดใหม่ (U.S. JOLTs Job Openings) มีแนวโน้มชะลอตัวลง บ่งชี้ความสามารถในการจ่ายค่าเช่าที่ลดลง ส่งผลให้ GDP มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงประเมินว่าไม่ว่านโยบายการเงินจะเป็นเช่นไรจะกดดัน U.S. REITs จึงแนะนำให้ชะลอการลงทุน US REITs ออกไปจนเห็น Dividend Yield ที่น่าสนใจ
ประกาศ ณ วันที่ 08 กรกฎาคม 2567