Bond Outlook After Fed Pivot ตลาดตราสารหนี้มีความผันผวนมากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แต่การฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า “Bonds are back” ซึ่งปัจจัยที่มีผลกับราคาตราสารหนี้ในปีนี้ขึ้นกับแนวโน้มของเงินเฟ้อ โดยเมื่อพิจารณาจากดัชนีค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (Core PCE) ในเดือนพ.ย. เพิ่มขึ้น 0.1%MoM ต่ำกว่าที่ตลาดคาดที่ 0.2% ส่งผลให้ Core PCE เมื่อปรับเป็นตัวเลขเต็มปี (annualized) สำหรับช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา เพิ่มขึ้น 1.9% ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อของเฟดที่ 2% ได้หนุนความคาดหวังการลดดอกเบี้ย “เร็วและลึก” ของเฟดในปีหน้า เมื่อพิจารณาช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเข้าลงทุนในตราสารหนี้จากข้อมูลในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา อัตราผลตอบแทนของ BofA US Corporate Index ซึ่งเป็นดัชนีที่วัดผลตอบแทนของหุ้นกู้สหรัฐฯ ระดับ Investment Grade พบว่าอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยในช่วง 12 เดือนหลังจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายอยู่ที่ 13.9% ขณะที่อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยในช่วง 12 เดือนหลังจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกอยู่ที่ 5.38% แสดงให้เห็นว่าหลังจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเข้าลงทุนในตราสารหนี้ อีกทั้งช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการเพิ่มอายุเฉลี่ย (Duration) ของตราสารหนี้ในพอร์ตการลงทุนจากข้อมูลในอดีตคือ ช่วงที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายถึงจุดสูงสุด โดยห้ารอบจากหกรอบของการขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ผ่านมา ตราสารหนี้ระยะยาวจะให้ผลตอบแทนที่เหนือกว่า เนื่องจากจะได้รับผลตอบแทนส่วนเพิ่ม (Capital Gain) จากการปรับลดดอกเบี้ย โดยจากการส่งสัญญาณสิ้นสุดวงจรการขึ้นอัตราดอกเบี้ยและท่าทีในการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายขึ้นมากของเฟด ส่งผลให้กระแสเงินทุนมีแนวโน้มไหลเข้าพันธบัตรและตราสารหนี้ระยะยาวอย่างต่อเนื่อง เพื่อล็อกผลตอบแทนที่อยู่ในระดับสูง ขณะที่ตราสารหนี้ระยะสั้นและตราสารหนี้ป้องกันเงินเฟ้อมีเงินไหลออกหลังความกังวลเรื่องเงินเฟ้อเริ่มคลี่คลาย อย่างไรก็ตาม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ (Bond Yield) อายุ 10 ปีที่ปรับลดลงจากระดับ 5% ในเดือนต.ค. 2023 สู่ระดับที่ต่ำกว่า 4% ณ ปัจจุบัน ได้สะท้อนถึงความคาดหวังจาก FedWatch Tools ว่าตลาดคาดการณ์การลดดอกเบี้ยนโยบายของเฟดจะเริ่มครั้งแรกในเดือนมี.ค. โดยลดทั้งหมด 1.50% ในปี 2024 ซึ่งเป็นสองเท่าของคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายของ Fed Dot Plot ที่มีการส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพียง 0.75% ในปี 2024 โดยหากการลดดอกเบี้ยจริงเกิดขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าหรือเกิดขึ้นช้ากว่าที่ตลาดคาดการณ์ จะส่งผลให้ราคาตราสารหนี้มีความเสี่ยงปรับฐาน จาก Bond Yield ที่ปรับตัวขึ้น โดยตราสารหนี้ที่มีอายุคงเหลือยาวจะมีความเสี่ยงด้านราคามากกว่าตราสารหนี้ที่มีอายุคงเหลือสั้น ดังนั้น ทางเราจึงแนะนำจัดพอร์ตแบบ Barbell คือผสมผสานทั้งตราสารหนี้ระยะสั้นและระยะยาว ระดับ Investment grade ขึ้นไป โดยล็อกอัตราผลตอบแทนที่อยู่ในระดับสูงจากตราสารหนี้ระยะยาว ขณะที่ตราสารหนี้ระยะสั้นจะช่วยลดความเสี่ยงจาก Bond Yield ที่อาจปรับเพิ่มขึ้นในอนาคต
Brown to Green การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP 28) ที่จัดขึ้น มีรัฐบาลกว่า 200 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วม โดยมุ่งประเด็นไปที่การหารือเกี่ยวกับมาตรการเพื่อรักษาไม่ให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกเพิ่มเกิน 1.5 องศาเซลเซียสเพื่อที่จะป้องกันภัยทางด้านสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงรุนแรง พร้อมเรียกร้องข้อตกลงการลดการปล่อยคาร์บอนจนกระทั่งถึงเป้าหมายเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions ; NZE) ภายในปี 2050 แต่หลังวิกฤตโควิด-19 ได้เกิดอุปสรรคกีดขวางในกระแสการเปลี่ยนถ่ายพลังงานดั่งเดิมสู่พลังงานสีเขียว (Brown to Green) ซึ่งทาง LH Bank Advisory ประเมินว่ามีสาเหตุจากเศรษฐกิจโลกซบเซาอุปทานขาดแคลน ผลักให้เงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น จนภาคบริโภคและภาคธุรกิจไม่สามารถปรับลดการปล่อยคาร์บอนได้ เพราะต้นทุนการเปลี่ยนผ่านพลังงานสูงเกินไป บ่งชี้จากประมาณการปริมาณการปล่อยคาร์บอนปี 2023 ทำจุดสูงสุดใหม่ จากการประชุม COP28 ได้ให้ความสำคัญต่อการกำหนดเวลา กฎเกณฑ์ และให้แนวทางการดำเนินงาน ซึ่งทางเราได้สรุปเป็น 5 หัวข้อตามตาราง 3.2 ทั้งนี้ใจความสำคัญของการประชุมล้วนเป็นปัจจัยสนับสนุนอุปสงค์ของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ ESG NZE และพลังงานทางเลือก ให้เติบโตและสร้างผลตอบแทนโดดเด่นปี 2024 เช่น ประเด็น Finance and ESG การจัดหาแหล่งเงินทุนสนับสนุนจากประเทศพัฒนาแล้ว (DM) ให้กับประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (EM) ลงทุนโครงการที่เกี่ยวข้องกับ NZE และอีกประเด็น Energy Transformation ที่ 150 ประเทศลงนามความพยายามลดการใช้พลังงานฟอสซิล 30% และเร่งเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียน เป็น 3 เท่าในปี 2030 ซึ่งเหลือเวลาเพียงเล็กน้อย จาก Figure 4.1 ประมาณการเงินทุนอยู่ที่ 852 USD billion ต่อปี หรือมากขึ้นถึง 190% จากปี 2023 หรือขยายตัวปีละ 29%CAGR ทั้งนี้ปัจจัยเร่งที่ทำให้เหล่าผู้ประกอบการต้องรีบลงมือเปลี่ยนผ่านพลังงานที่มีนัยสำคัญ มาจากข้อสรุปของ COP 28 ให้มีการจัดทำรายงานติดตามความคืบหน้ามาตรการ NZE ในรายประเทศ รวมถึงหลายประเทศได้เริ่มกำหนดมาตรการเกี่ยวกับ NZE และ ESG มาเป็นกฎเกณฑ์ทางการค้าระหว่างประเทศ นำมาโดย สหรัฐฯ และ ยุโรป ซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของโลก ปัจจุบัน Forward P/E ของดัชนี S&P Global Clean Energy ถือว่ามีความตึงตัวเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา อยู่ที่บริเวณ 39.2x สูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี แม้ทางเราประเมินว่ามีโอกาสที่ตลาดจะปรับประมาณการหุ้นกลุ่มดังกล่าวขึ้นในภายหน้า เพราะจากปัจจัยสนับสนุนข้างต้น แต่อย่างไรก็ตามหากพิจารณาจังหวะการลงทุน (Momentum) กระแสเงินทุนที่ไหลเข้ากลุ่มหุ้นเติบโตเกิดจากความคาดหวังของตลาดที่มองการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed มาถึง 6 ครั้ง -150 Bps ขณะที่ทางเรายังให้น้ำหนักโอกาสที่ Fed จะปรับลดดอกเบี้ยล่าช้ากว่าและปรับลดน้อยกว่าที่ตลาดคาด เป็นเหตุให้ในช่วงเวลานั้นกลุ่มหุ้นเติบที่ปรับตัวขึ้นแรงจะถูกขายทำกำไร ทางเราจึงแนะนำ จัดสรรเงินลงทุน 5-10% ของเงินลงทุนทั้งหมด ทยอยสะสมเมื่อพักฐาน โดยมุ่งเน้นสร้างผลตอบแทนที่โดดเด่นจากการลงทุนระยะยาว กองทุนที่น่าสนใจ MRENEW-A กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี รีนิวเอเบิล เอนเนอร์จ โดยกองทุนหลัก BGF Sustainable Energy Fund กระจายการลงทุนในกลุ่มหุ้นขนาดใหญ่และมีงบการเงินแข็งแกร่งหลายประเทศทั่วโลก เน้นอุตสาหกรรมที่ลงทุน Clean Power, Industrial Efficiency และ Green Infrastructure
Data Center remains attractive? ตั้งแต่ปี 2023 REITs ในกลุ่ม Data Center เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนจากการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ อย่าง Generative AI ซึ่งหมายถึง AI ชนิดหนึ่งที่สามารถเรียนรู้ชุดข้อมูลที่มีอยู่มากมายเพื่อสร้างข้อมูล, ภาพ, เสียง, วิดีโอ ออกมาโดยอัตโนมัติเช่น ChatGPT ซึ่งต้องการพื้นที่ในการเก็บข้อมูลมากขึ้นอย่างมหาศาล ประกอบกับในหลายองค์กรหันมาใช้ Gen AI เพื่อสังเคราะห์ผลงานออกมา โดยในไตรมาส 1 ปี 2023 มีการใช้ Gen AI เพิ่มขึ้นกว่า 2000% ส่งผลให้มีความต้องการ Data Center ยิ่งทวีคูณเพิ่มขึ้นด้วย อย่างไรก็ตามในปี 2024 จะต่อยอดจากการเติบโตที่โดดเด่นของ Data Center ในปี 2023 แต่จะเป็นปัจจัยใหม่และสร้างสรรค์มากขึ้น พลังงานยังเป็นจุดสนใจหลักต่อไป โดยความกดดันต่อโครงข่ายไฟฟ้า ซึ่งจะผลักดันให้เกิดการลงทุนใหม่ๆ ในส่วนประกอบการผลิตฮับ และแหล่งพลังงาน ดังนั้น Data Center มีปัจจัยสนับสนุนดังต่อไปนี้
แม้ว่า Fed จะส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปี 2024 และตลาดคาดความเสี่ยงในการเกิด Recession ลดลงควรจะส่งผลดีต่อ REITs ทั้งการล็อคอัตราผลตอบแทนและโอกาสในการทำกำไรจากส่วนต่างราคา แต่เนื่องจากนักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนใน REITs จาก Dividend Yield ซึ่งควรจะได้มากกว่าการลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างพันธบัตรรัฐบาล (Bond Yield) ซึ่งในปัจจุบันพบว่า Dividend Yield ของ REITs โดยรวมอยู่ที่ระดับ 4.1% ในขณะที่ Bond Yield อายุ 10 ของสหรัฐฯ อยู่ที่ 3.9% เมื่อพิจารณาจากส่วนต่างของ Dividend Yield และ Bond Yield 10 Year (Yield Spread) พบว่าอยู่ที่ระดับ 0.2% ซึ่งค่าเฉลี่ยของ Yield Spread 10 ปี อยู่ที่ระดับ 1.4% หมายความว่าราคา REITs แพงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต อีกทั้งจากข้อมูลในอดีตพบว่าราคาของ Data Center มักมีการเคลื่อนไหวค่อนข้างสอดคล้องกับหุ้นเทคโนโลยี ซึ่งในขณะนี้ Valuation ของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีค่อนข้างตึงตัว มีโอกาสเข้าสู่ช่วงพักฐาน ดังนั้นจึงแนะนำให้รอจังหวะพักฐานเพื่อทยอยสะสม Data Center เพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต
ประกาศ ณ วันที่ 08 มกราคม 2567