มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์
จับชีพจรเวียดนามครึ่งปีหลัง
ภาคอสังหาริมทรัพย์และภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องของเวียดนาม (สัดส่วน 12% ของ GDP) ยังคงเป็นปัจจัยกดดันต่ออุปสงค์ภายในประเทศในระยะสั้น จากยอดค้าบ้านที่อ่อนแอและวิกฤตสภาพคล่องที่ผู้พัฒนาอสังหาฯ เผชิญจากการจัดระเบียบการออกหุ้นกู้ที่เข้มงวดมากขึ้นของภาครัฐ เพื่อป้องกันความเสี่ยงปัญหาฟองสบู่ในภาคอสังหาฯ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งในระยะยาวมาตรการภาครัฐจะช่วยลดการเก็งกำไรในตลาดอสังหาฯและช่วยขับเคลื่อนธุรกิจอสังหาฯในเวียดนามให้เติบโตอย่างยั่งยืน ทั้งนี้รัฐบาลเวียดนามได้ผ่อนปรนฎีกา Decree 65 บางประการ เช่น การอนุญาตให้บริษัทขยายอายุครบกำหนดไถ่ถอนหุ้นกู้ออกไป 2 ปี หากได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นกู้อย่างน้อย 65% และให้ผู้ออกหุ้นกู้ใช้สินทรัพย์อื่น นอกเหนือจากเงินสด เช่น ที่ดิน เพื่อจ่ายดอกเบี้ยหรือไถ่ถอนหุ้นกู้ได้ เพื่อให้ผู้ที่จะเสนอขายหุ้นกู้และตลาดมีเวลาปรับตัวตามข้อบังคับใหม่ แต่สิ่งที่ต้องจับตา คือ แรงกดดันจากหุ้นกู้โดยเฉพาะในกลุ่มอสังหาฯ ที่จะครบกำหนดค่อนข้างมาก (เฉลี่ย 850 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือนในไตรมาส 3/2023) จากรายงานล่าสุดของธนาคารกลางของเวียดนามได้เปิดเผยข้อมูลหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของภาคธนาคารของเวียดนาม มีสัดส่วนเกือบ 3% ของสินเชื่อรวม ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าเมื่อเทียบกับสิ้นปี 2021 อย่างไรก็ตาม ยังเป็นระดับที่สามารถบริหารจัดการได้ โดยธนาคารต่างๆ ของเวียดนามมีการปล่อยสินเชื่อให้ภาคอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจที่เกี่ยวข้องมีสัดส่วนราว 20% ของสินเชื่อรวมทั้งระบบ ทั้งนี้ธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.50% ซึ่งเป็นการปรับอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 4 ในปีนี้ เพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และด้วยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ปรับตัวลงช่วยให้เงินบางส่วนไหลกลับเข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยงอย่างตลาดหุ้นมากขึ้น ประกอบกับการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายการคลังด้วยการเร่งใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐ จึงส่งผลบวกต่ออารมณ์ของตลาด (Market Sentiment) LH Bank Advisory ประเมินว่าปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์และการชะลอตัวของการส่งออกจากความอ่อนแอของเศรษฐกิจโลกจะยังเป็นแรงกดดันในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ อย่างไรก็ตาม การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) มีแนวโน้มฟื้นตัว และด้วยระดับมูลค่า (Valuation) ที่อยู่ในระดับที่น่าสนใจ และความเสี่ยงของภาคการเงินยังอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ ประกอบกับทิศทางนโยบายและมาตรการสนับสนุนเศรษฐกิจของภาครัฐ ทำให้ตลาดหุ้นมีโอกาสฟื้นตัวได้ ดังนั้นสำหรับนักลงทุนระยะยาวจึงสามารถทยอยสะสมในตลาดหุ้นเวียดนามได้
ลงทุนอย่างไรในช่วงเข้าสู่ครึ่งหลัง I
หากย้อนดูช่วงครึ่งปีแรกของปีภาวะการลงทุนผ่านช่วงเวลา “เงินเฟ้อสูงเกินเป้าหมาย กับดอกเบี้ยถูกปรับขึ้นมากและยาวนานกว่าที่คาด” ซึ่งถือว่าเป็นไปตามที่ทาง LH Bank Advisory ได้คาดการณ์ไว้ในปี 2022
ลงทุนอย่างไรในช่วงเข้าสู่ครึ่งหลัง I (ต่อ)
ประกาศ ณ วันที่ 26 มิถุนายน 2566