Trump 2024, I'll be back? หลังจากที่ประธานาธิบดี โจ ไบเดนแพ้การ Debate เป็นทางการครั้งแรก และมีอาการไม่สบายบ่อยครั้ง กลายเป็นเหตุให้คะแนนนิยมของทรัมป์ทิ้งห่างไบเดน จนเกิดกระแส Trump Sweep หรือการกวาดที่นั่งเกินครึ่งทั้งสองสภา และสร้างผลพวงไปยังตลาดการลงทุนให้โยกย้ายเงินลงทุนตามกลยุทธ์ Trump Trade คือเน้นสินทรัพย์ลงทุนที่คาดว่าจะได้รับผลประโยชน์จากนโยบายของทรัมป์ จนตลาดเริ่มสงบลงและกลับไปจับตาผลประกอบการจดทะเบียนบริษัทฯ ในไตรมาส 2 เนื่องด้วยการประกาศถอนตัวจากศึกเลือกตั้งของไบเดนและสนับสนุน คามาลา แฮร์ริส เป็นตัวแทนพรรคเดโมแครต (ไม่เป็นทางการ) ทำให้ศึกการเลือกตั้งครั้งนี้มีความสูสีมากขึ้น แต่เมื่อพิจารณาคะแนนความนิยม แม้ว่าแฮร์ริสได้รับความนิยมที่ดีกว่าไบเดน แต่ยังคงแพ้ทรัมป์อยู่ ซึ่งสอดคล้องกับทาง LH Bank Advisory ประเมินว่า ทรัมป์ มีโอกาสชนะศึกครั้งนี้และกลับมาเป็นประธานาธิบดีอีกครั้งในปี 2024 ในสัปดาห์นี้ทางเราจึงพิจารณาถึงผลกระทบจากนโยบายทรัมป์ 2.0 (Trump 2.0) ตามข้อมูล Figure 1.2 ไว้ดังนี้
ทางเรามองว่านโยบายของทรัมป์อาจกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เริ่มชะลอตัวให้ฟื้นตัวได้แต่ไม่มากนัก ขณะที่กลับทำให้เงินเฟ้อที่ลดลงพลิกกลับทรงตัวอยู่ในระดับสูงได้ และด้วยเหตุนี้ Fed จึงต้องระมัดระวังการตัดสินใจลดดอกเบี้ย หรืออาจลดจำนวนครั้งที่คาดว่าจะปรับดอกเบี้ยลง ทำให้ดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงต่อไป ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุน แนะนำขายทำกำไรกลุ่มหุ้นสหรัฐฯ ที่มูลค่าแพงและอัตราเติบโตกำไรลดลง ไปสู่กลุ่มหุ้นคุณภาพที่มีอัตราการทำกำไรสูง (High quality value) เนื่องจากเป็นหุ้นกลุ่มที่สามารถในกำหนดราคา จึงรับผลกระทบจำกัดในช่วงที่เงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง พร้อมด้วยสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง จึงทนทานในสภาวะเศรษฐกิจช่วง Late Cycle
Strong earning financial sector amid high rate การประกาศผลประกอบการไตรมาสที่ 2 ของบริษัทในสหรัฐฯ ทยอยประกาศผลไปตั้งแต่ช่วงต้นเดือน ก.ค. ซึ่งส่วนใหญ่ออกมาดีกว่าที่คาด แม้ว่าจะเป็นช่วงที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงอย่างยาวนาน ประกอบกับการขอยื่นล้มละลายของบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กที่สูงขึ้น เป็นเหตุให้ผลประกอบการของกลุ่มการเงินเป็นที่น่าจับตามอง ผลปรากฎว่ารายได้ไม่เพียงแต่เพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ยังสร้างรายได้และมีกำไรทำระดับสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ อย่าง JPMorgan Chase บริษัทการเงินขนาดใหญ่ โดยได้รับแรงหนุนจากธุรกิจ Investment Banking และ Global Market ซึ่งได้รับค่าธรรมเนียมจากภาวะ Risk On ในขณะนี้ อย่างไรก็ตามทางเราพบความเสี่ยงในกลุ่มการเงินธนาคารดังนี้ ธุรกิจเกี่ยวกับ Investment จะได้รับค่าธรรมเนียมลดลงเมื่อตลาดหุ้นเข้าสู่ภาวะตลาดหมี เช่นในปี 2022 ที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ (S&P500 Index) ประตัวลงกว่า 20% ส่งผลให้การนำธุรกิจเข้าตลาดหลับทรัพย์เป็นไปได้ค่อนข้างยาก ประกอบกับการเทรดในตลาดหุ้นจะมีปริมาณที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่ง IMF คาดการณ์ GDP สหรัฐฯ ในปี 2024 ลดลงจาก 2.7% เหลือเพียง 2.6% สะท้อนถึงการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจทั่วโลก และคาดการณ์เงินเฟ้อที่ชะลอตัวลงในปี 2025 บ่งชี้การใช้จ่ายภาคครัวเรือนชะลอตัวลง และยังชี้ให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและบริการในอัตราที่ชะลอตัวลง ซึ่งส่งผลให้ Profit Margin ของธุรกิจมีแนวโน้มจะชะลอตัวลง ซึ่งปัจจุบันพบกับบริษัทกลุ่มเทคโนโลยี อย่าง Tesla ที่มีผลประกอบการต่ำกว่าคาด เป็นเหตุให้นักวิเคราะห์ยังคงปรับคาดการณ์ผลประกอบการลดลง ซึ่งเป็นจุดที่เริ่มชี้ว่ากลุ่มเทคโนโลยีบางกลุ่มได้เริ่มปรับเข้าสู่พื้นฐานที่เป็นจริง ด้วยเหตุนี้ทางเราจึงคาดการณ์ว่า EPS ของบริษัทในสหรัฐฯ จะค่อยๆ ถูกปรับประมาณการณ์ลดลง เป็นเหตุให้การลงทุนในหุ้นอาจจะไม่น่าสนใจในขณะนั้น อีกทั้งผลประกอบการของกลุ่มธนาคารในธุรกิจเกี่ยวกับสินเชื่อที่ชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัด โดยได้รับแรงกดดันจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ธุรกิจขนาดเล็กหลายรายผิดนัดชำระหนี้ โดยในปีนี้มีอัตราการผิดนัดชำระหนี้ในธุรกิจรายย่อยสูงขึ้น ประกอบกับตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลักฐานชี้ชัดจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดลงอยู่ในระดับ 66 จุด สะท้อนการบริโภคที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง ทางธนาคารจึงลดการปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน ไม่เพียงเท่านั้นการปล่อยกู้สินเชื่อที่อยู่อาศัยยังไม่มีท่าทีฟื้นตัว แม้ว่า Mortgage Loan จะค่อยๆ ปรับลดลงแล้วก็ตาม อย่างไรก็ตามธนาคารในสหรัฐฯ ได้เพิ่มอัตราส่วนหนี้เสียให้อยู่ในระดับที่สูงไว้แล้ว จึงประเมินว่าธุรกิจในกลุ่มสินเชื่อจะยังคงพบกับแรงกดดันต่อไป ซึ่งทางเราประเมินว่ากลุ่มการเงินของสหรัฐฯ จะถูกกดดันเมื่ออัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลงมาอยู่ในระดับต่ำมากๆ และอัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่ง Fed Dot plot ชี้ถึง Long-term Interest rate ที่ขยับขึ้น โดยกรรมการ Fed มองว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยที่จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตต่อไปได้ และช่วยให้เงินเฟ้ออยู่ในระดับเป้าหมาย ซึ่งกลุ่มการเงินปรับตัวขึ้นจากต้นปี 14% ส่งผลให้ Forword PE ประตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับ 10 เท่า ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี มากกว่า 1SD ด้วยเหตุนี้ทางเราจึงแนะนำให้ทยอยลดสัดส่วนการลงทุนในกลุ่มการเงิน
Impact on Cybersecurity from Blue Screen of Death จากกรณี "CrowdStrike" บริษัทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ชั้นนำที่มีการอัปเดตซอฟต์แวร์ป้องกันความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ผิดพลาด กระทบต่อระบบ Windows ของ Microsoft ของหน่วยงานที่ลง CrowdStrike Sensor ทั่วโลก เกิดปัญหา "จอฟ้า" (Blue Screen of Death: BSOD) ส่งผลกระทบต่อองค์การต่างๆ ทั้งระบบการเงินการธนาคาร สายการบิน และโรงพยาบาล ทำให้หุ้น CrowdStrike ปรับตัวลดลงกว่า 20% ทั้งนี้ทาง LH Bank Advisory ประเมินผลกระทบของเหตุการณ์ครั้งนี้และกลยุทธ์การลงทุนในธุรกิจความปลอดภัยทางไซเบอร์ ดังนี้
ทาง LH Bank Advisory ประเมินว่ากองทุนเปิด แอล เอช โกลบอล ไซเบอร์ ซีเคียวริตี้ (LHCYBER-A) ที่มีนโยบายลงทุนในบริษัทที่ดําเนินการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ทั่วโลก ผ่านกองทุนหลัก Global X Cybersecurity ETF (BUG) ได้รับผลกระทบอย่างจำกัด จากการกระจายการลงทุนของกองทุนหลัก ซึ่งแม้ว่า BUG จะถือครองหุ้น CrowdStrike ในสัดส่วน 5.9% ของพอร์ต แต่หุ้นตัวอื่นๆ ในกลุ่ม Cyber Security ให้ผลตอบแทนเป็นบวก จากความคาดหวังการได้อานิสงค์ Demand shift จาก CrowdStrike มายังบริษัทอื่นๆ ที่ให้บริการในอุตสาหกรรมเดียวกัน ขณะที่เมื่อพิจารณาจากความเป็นผู้นำของ CrowdStrike และต้นทุนในการเปลี่ยน (Switching Cost) ที่สูง ทำให้ผลกระทบของการเปลี่ยนไปยังผู้ให้บริการรายอื่นไม่น่าจะมีนัยสำคัญ นอกจากนี้จากผลกระทบของการหยุดชะงักทางธุรกิจยิ่งเป็นตัวเร่งการเติบโตของการใช้จ่ายด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ทางเราจึงแนะนำทยอยสะสมแบบ Buy on dip ในกองทุน LHCYBER-A จากภาพรวมของอุตสาหกรรมนี้ที่ยังคงมีแนวโน้มการเติบโตในระยะยาวที่ดี
Announcement on 29 July 2024