Unclear , More Massage ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง กล่าวสุนทรพจน์ในปีใหม่ด้วยคำพูดมากมายถึง “High-Quality Development” และ 3 ทางใหม่ ที่เป็นแนวทางของนโยบายทางเศรษฐกิจจีน ขณะที่เนื้อหาโดยรวมไม่ได้เผยรายละเอียดของนโยบาย จนสร้างความกังวลใจแก่นักลงทุนที่ติดตามว่า ปีมังกรนี้จีนจะหนีเงินฝืดได้หรือไม่? หลังภาวะถดถอยของอสังหาริมทรัพย์ยังคงฉุดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและธุรกิจ ทั้งนี้ทาง LH Bank Advisory ได้เคยประเมินในปีที่ผ่านมาว่า จีนจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีนโยบายสนับสนุนและกระตุ้นภาคการผลิต ซึ่งเป็นสัดส่วนใหญ่ถึง 52.8% ของ GDP(2022) เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจจีนหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะเศรษฐกิจซบเซา และในเวลานี้ทางเราเริ่มเห็นสัญญาณว่า ในปี 2024 จีนจะเริ่มให้น้ำหนักสนับสนุนภาคการผลิตมากกว่าที่ผ่านมา จากสุนทรพจน์ปีใหม่ที่พูดถึง 3 ทางใหม่ที่เปลี่ยนจาก 3 ทางเดิม คือ ‘การลงทุน + ที่อยู่อาศัย + การส่งออก’ เป็นการขับเคลื่อนด้วย ‘อุปสงค์ภายในประเทศ + การผลิต + ความเป็นกลางทางคาร์บอน’ หากพิจารณาในภาพกว้าง พบว่าแนวทางใหม่นี้มีนัยยะไปที่การบริโภคและการพัฒนาภาคการผลิตในระบบเศรษฐกิจมากกว่าอันเดิม แต่ถึงกระนั้นได้สะท้อนถึงความเสี่ยงในภาคอสังหาฯ ให้ยังคงซบเซาต่อ เพราะปีนี้อาจไม่มีนโยบายที่เลือกแก้เฉพาะภาคอสังหาฯอย่างที่ผ่านมา ทำให้การปล่อยสินเชื่อใหม่จากธนาคารจีนกับภาคอสังหาฯขยายตัวต่ำกว่าภาคอุตสาหกรรมอื่น ดังนั้นเมื่อประเมินผลลัพธ์ของแนวทางนโยบายกับความเสียหายจากปัญหาอสังหาฯ พบว่าไม่สามารถชดเชยความเสียหายจากปัญหาอสังหาฯ ที่เผชิญอยู่ได้ในเวลาอันสั้น และเป็นเหตุให้เศรษฐกิจจีนชะลอการเติบโต เพราะภาคอสังหาฯ คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 30% ของ GDP ส่งผลต่อประมาณการ GDP ของจีนที่ตลาดประเมินในปี 2024 และ 2025 ขยายตัวในระดับต่ำกว่า 5% และในขณะเดียวกันจีนยังคงมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับภาวะเงินฝืดจากราคาอสังหาฯ ที่ตกต่ำอยู่อีกด้วย ในช่วงแรกของปี 2024 มุมมองการลงทุนหุ้นจีนทางเราให้เป็นเชิงลบ เพราะยังไม่มีความชัดเจนของนโยบายที่จะออกมาช่วยเศรษฐกิจจีนให้ผ่านพ้นภาวะเงินฝืด ขณะที่ผลตอบแทนการลงทุนตลาดหุ้นในประเทศที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะเงินฝืดนั้น ผลตอบแทนการลงทุนของตลาดดังกล่าวจะ Underperform เมื่อเทียบกับการลงทุนในประเทศที่เงินเฟ้ออยู่ในระดับเหมาะสมสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทางเราจึงแนะนำกระจายการลงทุนไปยังประเทศที่ได้ประโยชน์หากเศรษฐกิจจีนมีการฟื้นตัว อย่างกลุ่มประเทศเอเชีย (Asia) มากกว่าอยู่ในจีนประเทศเดียว อีกทั้งจากสัญญาณสิ้นสุดการปรับขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐฯ ทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง สร้างอานิสงส์แก่สกุลเงินของเอเชียให้มีเสถียรภาพมากขึ้น สำหรับนักลงทุนที่แสวงหาผลตอบแทนระยะยาวและรับความเสี่ยงได้มาก การเลือกลงทุนใน Asia Technology มีความน่าสนใจ ซึ่งได้รับอานิสงส์ตามกระแส Mega trend ในฐานะเป็น Supply chain ของสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงและพลังงานสะอาด ที่ส่งออกสู่ตลาดโลก ขณะที่เมื่อพิจารณาราคาหุ้นเทคโนโลยีในเอเชียแปซิฟิก พบว่าอยู่ในระดับค่าเฉลี่ยและการปรับเพิ่มขึ้นของราคายังคง Laggard เมื่อเทียบกับ US Tech มาก ทำให้เห็น Upside ในสินทรัพย์ดังกล่าว กองทุนที่แนะนำ คือ กองทุนเปิดเค เอเชีย เทคโนโลยีหุ้นทุน (K-ATECH) มี Master Fund เป็น JPMorgan Pacific Technology ซึ่งลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีมีคุณภาพและเติบโตสูงในภูมิภาคเอเชีย โดยครอบคลุมประเทศทั้ง ญี่ปุ่น(34%) จีน(25%) ไต้หวัน(20%) เกาหลีใต้(14%) อินเดีย(5%) และอาเซียน เป็นต้น ทั้งนี้กลยุทธการลงทุนผ่าน 3 ธีม ได้แก่ ผู้นำอุตสาหกรรมการผลิต การบริโภคผ่านช่องทางดิจิตอล และ การเปลี่ยนแปลงภาคองค์กร
Vietnam: A Step Closer to Emerging Market เวียดนามยังคงอยู่ในกลุ่มตลาดชายขอบ (Frontier Market) และอยู่ในรายการ Watchlist ของตลาดเกิดใหม่ ระดับ 2 (Secondary Emerging Market) จากประกาศของ FTSE Russell ตั้งแต่ปี 2018 ซึ่งปัจจุบันตลาดหุ้นเวียดนามสามารถบรรลุหลักเกณฑ์ของตลาดหุ้นในประเทศตลาดเกิดใหม่ตามเกณฑ์ FTSE แปดข้อจากทั้งหมดเก้าข้อของตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ โดยยังไม่ผ่านเกณฑ์การชำระบัญชี ซึ่งปัจจุบันนักลงทุนต่างชาติต้องฝากเงินในสกุลเงินท้องถิ่น (ดองเวียดนาม) ในบัญชีก่อนทำธุรกรรมการซื้อ (Pre-funding) ขณะที่ทาง FTSE ระบุว่าตามหลักปฏิบัติระหว่างประเทศ นักลงทุนสถาบันต่างประเทศไม่จำเป็นต้องโอนเงินเข้าประเทศก่อนซื้อหลักทรัพย์ และจะต้องโอนเงินหลังจากธุรกรรมการซื้อสำเร็จเท่านั้น (T+2) ทั้งนี้หากเวียดนามสามารถยกเลิกเกณฑ์ Pre-funding ได้ในไตรมาส 1/2024 ทาง FTSE จะต้องใช้เวลาประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปีในการทบทวนเพื่อประเมินการยกระดับสู่สถานะตลาดเกิดใหม่ ซึ่งหากบรรลุเงื่อนไขต่างๆ แล้ว จะสามารถดึงดูดเงินทุนให้เข้ามาสู่ตลาดหุ้นเวียดนามได้มากขึ้น เมื่อพิจารณาแนวโน้มทางเศรษฐกิจของเวียดนาม การส่งออกของเวียดนามที่หดตัว 4.4% ในปี 2023 จากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม การส่งออกมีทิศทางฟื้นตัวต่อเนื่องเมื่อเทียบรายเดือน โดยเพิ่มขึ้น 13.1%YoY ในเดือนธ.ค. 2023 ขยายตัวเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน และจากความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และการลดลงของสินค้าคงคลังในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของเวียดนาม จะเป็นแรงหนุนการฟื้นตัวของการส่งออก นอกจากนี้ เวียดนามได้รับการปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือประเทศ โดย Fitch Ratings จาก จาก BB เป็น BB+ โดยมีแนวโน้ม (Outlook) ที่เสถียรภาพ (Stable) ซึ่งได้รับแรงหนุนจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่แข็งแกร่ง ส่วนประเด็นที่ทางการเวียดนามปรับขึ้นภาษีบริษัทข้ามชาติเป็น 15% โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนม.ค. 2024 ตามข้อตกลงสากลนั้น คาดว่าผลกระทบค่อนข้างจํากัด เนื่องจากกฎระเบียบนี้มีแนวโน้มจะถูกบังคับใช้ทั่วโลกอยู่แล้ว ส่วนภาคอสังหาริมทรัพย์มีสัญญาณการฟื้นตัว หลังจากเวียดนามออกกฎหมาย Decree 08/2023 โดยอนุญาตให้บริษัทผู้ออกตราสารหนี้ปรับโครงสร้างหนี้และขยายอายุครบกำหนดไถ่ถอนหุ้นกู้ออกไป 2 ปี โดยประมาณ 18% ของตราสารหนี้ที่ครบกำหนดในปี 2023 ได้มีการยืดอายุครบกำหนดออกไป ซึ่งช่วยเสริมสภาพคล่องให้กับบริษัทพัฒนาอสังหาฯ ทั้งนี้จาก Bloomberg Consensus คาดว่ากำไรต่อหุ้น (EPS) ของดัชนี VNINDEX ปี 2024 จะเติบโตถึง 30% ส่งผลให้ Forward P/E ratio อยู่ที่ระดับเพียง 9.8 เท่า ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีที่ระดับ 13.8 เท่า โดยยอดค้าปลีกขยายตัว 9.3%YoY ในเดือนธ.ค. เทียบกับ 10.1%YoY ในเดือนก่อนหน้า และดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมเติบโต 5.8%YoY ในเดือนธ.ค. เร่งตัวขึ้นจาก 5%YoY ในเดือนก่อนหน้า บ่งชี้แนวโน้มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นและการฟื้นตัวของการบริโภคภายในประเทศ ส่งผลให้ GDP ขยายตัวจาก 5.5%YoY ใน 3Q23 เป็น 6.7%YoY ใน 4Q23 และคาดการณ์ GDP ปี 2024-2025 อยู่ที่ระดับประมาณ 6%
Thai REITs recover on rate cut ณ ปัจจุบันที่ภาพรวมเศรษฐกิจถูกปกคลุมด้วยความคาดหวังในการลดอัตราดอกเบี้ย รวมถึงประเทศไทยที่หลังจาก กนง. มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ย ตลาดให้น้ำหนักของการลดอัตราดอกเบี้ยไปแล้ว เนื่องจากกระทรวงพาณิชย์คาดว่าเงินเฟ้อไทยเดือน ม.ค. 2024 มีโอกาสติดลบเป็นเดือนที่ 4 จากราคาน้ำมันโลกที่ปรับตัวลดลง และยังอยู่ในช่วงที่ภาครัฐช่วยลดค่าครองชีพ พร้อมกันนี้ยังได้ประเมินเงินเฟ้อปี 2024 เฉลี่ยอยู่ที่ 0.7% เมื่อเทียบกับปีก่อน จึงส่งผลให้มี Fund Flow เข้ามาในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ไทยอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับเมื่อพิจารณาจาก Valuation พบว่า Yield Spread ระหว่าง Dividend Yield ของ REITs และ Bond Yield 10 ปี ของไทย อยู่ในระดับ 5.4% สูงกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี ที่ 4.4% ซึ่งถือว่ากองทุน REITs ไทย มี Valuation ค่อนข้างน่าสนใจในภาพรวม อย่างไรก็ตาม REITs ไทย มีการเติบโตหลังจากช่วงโควิด-19 แบบ K-Shape ส่งผลให้แต่ละกลุ่มมีการปรับตัวในทิศทางที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม REITs ไม่ใช่ตราสารหนี้ที่จะประเมินค่าจากเพียงอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว, ระยะเวลา และอัตราผลตอบแทนคาดหวังเท่านั้น แต่ยังต้องคำนึงถึงอัตราการเข้าพัก (Occupancy Rate) จะเห็นได้ว่าช่วงปี 2017 ที่เศรษฐกิจไทยมีการเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป REITs ไทยจะปรับตัว Sideway ซึ่งในปี 2024 ทาง Bloomberg จะประมาณการ GDP ไทย ขยายตัวได้ 3.5% YoY ส่งผลให้ REITs มีโอกาส Upside อย่างไรก็ตามควรเลือกลงทุนจากกลุ่มที่มีแนวโน้มอัตราการเข้าพักที่สูงขึ้นจากปัจจัยดังนี้
ในช่วงนี้ทาง LH Bank Advisory มองว่า REITs ไทยจะปรับตัวขึ้นได้ตาม Sentiment การลดอัตราดอกเบี้ย แต่ควรเลือก Selective Buy ที่ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว ดังนั้นเราจึงแนะนำกองทุน REITs ที่มีสัดส่วนกลุ่มโรงแรมประกอบกับราคาค่อนข้าง Laggard
Announcement on 15 January 2024